Page 173 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 173
แม้ว่าเพศศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่
นักเรียน สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to Information and
Education) ที่ท�าให้เยาวชนได้มีสิทธิรับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และรอบด้าน เพื่อประโยชน์
สูงสุดในการตัดสินใจในทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง แต่ก็
ไม่ได้หมายความว่ากระทรวงฯ จะเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในข้อนี้ เพราะเป็นการ
ให้ความรู้เพื่อลดจ�านวนเยาวชนหญิงนักเรียนตั้งครรภ์มากกว่าจะป้องกันการละเมิดสิทธิในการได้
รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา เพราะกระทรวงไม่ได้มีมาตรการและบทลงโทษชัดเจนต่อผู้บริหาร
สถานศึกษาที่จ�าหน่ายนักเรียนที่ตั้งครรภ์ออกจากโรงเรียน ท�าให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถ
เข้าถึงการศึกษาได้ ซึ่งไม่เพียงละเมิดสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา แต่ยังละเมิด พ.ร.บ.
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้ “มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้
บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย...”
จากการลงพื้นที่ภาคสนามพบว่า หลาย
โรงเรียนยังมีการให้นักเรียนออกจากโรงเรียน
หรือพักการเรียน เนื่องจากการตั้งครรภ์ การ
ถูกนินทาด่าทอ ประจานให้อับอาย ล้อเลียน
รวมไปถึงการจับจ้องเนื้อตัวร่างกายของเยาวชน
หญิงตั้งครรภ์ ล้วนแล้วแต่เป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนต่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์อย่างชัดเจน
สาเหตุเกิดจากการที่อาจารย์และผู้บริหาร
ปราศจากความรู้ทั้งในเรื่อง พ.ร.บ. การศึกษา
และสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ขณะเดียวกันเยาวชนหญิงตั้งครรภ์เองก็ไม่ได้
เรียกร้องสิทธิในกรณีที่ถูกละเมิด มากไปกว่า
นั้น เยาวชนหญิงตั้งครรภ์บางคนลาออกจาก
โรงเรียนและทิ้งการศึกษาเพื่อเลี้ยงลูกและ
หางานท�าแทน ทั้งนี้เพราะไม่มีความรู้ทั้งในเรื่อง
172 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน