Page 167 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 167
ของโรงเรียนต้องถูกจ�าหน่ายออก ท�าให้นักเรียนหลายคนที่ด�ารงครรภ์ต่อเลือกที่จะไม่ไปโรงเรียนหรือ
ออกจากโรงเรียนก่อนถูกจ�าหน่ายออก ซึ่งการขาดความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนดังกล่าวเป็นอุปสรรค
ส�าคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนหญิง
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมทั้งสาเหตุของการ
ตั้งครรภ์และการจัดการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ มี ๒ ประการคือ
๑. การเข้าไม่ถึงสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นปัจจัย
ส�าคัญที่มีผลต่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนและครอบครัว
ตลอดจนบุคลากรในสถานศึกษาและสถานพยาบาลไม่มีข้อมูลที่รอบด้านในการดูแลปัญหา
อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นการกระจายและให้บริการข้อมูลและการศึกษาไม่ได้หมายถึงใน
สถาบันการศึกษาเท่านั้น หากแต่เป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน
อื่นๆ เช่น สถาบันครอบครัว สื่อสารมวลชน เป็นต้น
ในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ทั้งในครอบครัว ในโรงเรียน
และในชุมชนยังต้องการบรรยากาศและทักษะในการสื่อสารเชิงบวก ให้ความส�าคัญและ
เน้นย�้าความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันของเยาวชนมากกว่าห้ามปรามและปิดกั้นความรู้
เรื่องเพศสัมพันธ์ของเยาวชน มีวิธีบอกเล่าเพื่อฝึกกระบวนการคิด หรือชวนสนทนาเพื่อ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างเข้าใจและสุนทรียสนทนา อบรมสั่งสอนการรับผิดชอบ
ชีวิตและอนาคตของตนเองและคู่รัก ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
อย่างหนึ่งและสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน
แม้ในบางโรงเรียน บางชุมชนจะมีการสอนและกิจกรรมเรื่องเพศศึกษาและสิทธิ
อนามัยเจริญพันธุ์ โดยอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุข แต่มักเป็นการจัด
กิจกรรมในห้องประชุมขนาดใหญ่ที่มีผู้ฟังจ�านวนมาก ซึ่งท�าให้วิทยากรหรืออาจารย์ให้
ความรู้ได้ไม่ทั่วถึง มีผู้ที่ตั้งใจฟังจริงๆ จ�านวนน้อย และมักเป็นการน�าเสนอให้หวาดกลัว
การท�าแท้งและเน้นเรื่องรักนวลสงวนตัว การให้ความรู้ยังคงเป็นเรื่องการป้องกันการมี
เพศสัมพันธ์ มากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มากไปกว่านั้นกิจกรรมที่จัดมักใช้พื้นที่
166 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน