Page 163 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 163

ด้วยเหตุนี้ แม้ว่ากฎหมายของ ๓ ประเทศครอบคลุมถึงสิทธิ ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่าง

                 มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Rights to Life) สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to

                 Information and Education) สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด (Rights to

                 Decide Whether or When to Have Children) และสิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ (Rights

                 to Health Care and Health Protection) ทว่ากฎหมายของแต่ละประเทศถูกกรอบไว้ด้วย

                 ความคิดความเชื่อทางศาสนา สังคมและวัฒนธรรม และมีอิทธิพลเหนืออนุสัญญาต่างๆ ท�าให้ท้ายที่สุด

                 สิทธิของผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหญิงถูกจ�ากัด ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมือนกันของทั้ง ๓ ประเทศคือ

                 ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน และไม่มีกฎหมาย

                 อนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มการเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

                 เพราะอคติของทั้งประชาชนในสังคมและรัฐที่ไม่ยอมรับการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิง ท�าให้ไม่ได้รับ

                 การคุ้มครองทางกฎหมาย และการสนับสนุนทางสังคม ส่งผลให้เยาวชนหญิงเหล่านี้ไม่สามารถ

                 เข้าถึงสิทธิในด้านต่างๆ ของตนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐไทยแล้ว ไม่ได้แตกต่างกัน

                 มากนัก แม้ว่าจะมีวัฒนธรรมความเชื่อ ศาสนา และจารีตที่แตกต่างกันก็ตาม


                       จากการศึกษากฎหมายไทยและมาตรการของรัฐพบว่า กระบวนการและพฤติกรรมต่างๆ ของ

                 การละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ต่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ล้วนเป็นผลมาจาก

                 มายาคติว่าด้วยการตั้งครรภ์ของเยาวชนเป็นความผิดพลาด เป็นการ “ก้าวพลาด” ของเยาวชนหญิง

                 มากกว่าเป็นภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ และสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของแต่ละปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะ

                 อย่างยิ่ง สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด การตั้งครรภ์ของเยาวชนใน

                 ความหมายส�าหรับรัฐและสังคมยังถูกวางในฐานะผลลัพธ์ของปัญหาการขาดศีลธรรมของเยาวชน

                 การขาดความรักความเอาใจใส่ของครอบครัว การขาดการอบรมเลี้ยงดูอย่างดี และเสมือนการระบาด

                 ของโรค ที่กระทรวงสาธารณสุขต้องเข้ามาควบคุมดูแล และความเข้มงวดของสถานศึกษาและ

                 กระทรวงศึกษาธิการในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชน นักเรียนนักศึกษา หรือที่พอจะ

                 ยอมรับได้คือ มีเพศสัมพันธ์อย่างป้องกัน



                       แม้กฎหมายของรัฐไทยที่พยายามจะคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็น

                 มนุษย์ แต่ไม่ได้ให้หรือคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด











                            162    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168