Page 162 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 162

ต่างๆ ของแต่ละรัฐโดยอาศัยวัฒนธรรม ความเชื่อ และจารีตประจ�ารัฐมาเป็นกรอบ แทนการน�า

                  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ

                  วัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ

                  เด็ก แผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของสตรี มาเป็น

                  กรอบในการบัญญัติกฎหมายและบังคับใช้ ซึ่งน�าไปสู่การไม่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัย

                  เจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์


                        ในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ นอกเหนือจากการกระท�าความ

                  รุนแรง ท�าร้ายร่างกาย ท�าให้ตกอยู่ในอันตราย บังคับขู่เข็ญ ประณาม ท�าให้อับอาย ซึ่งเป็นความ

                  รุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกแล้ว จากการ

                  ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า ความรุนแรงเชิงโครงสร้างยังเป็นอีกความรุนแรงหนึ่งที่เกิดขึ้น

                  กับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การมองข้ามสิทธิต่างๆ ที่เยาวชนและเยาวชนหญิงตั้งครรภ์พึงได้รับ





                        ๔.๑.๑   ด้านกฎหมาย








                        จากการศึกษา การละเมิดสิทธิมนุษยชนและความรุนแรงเชิงโครงสร้างต่อเยาวชนหญิง

                  ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม พบว่ามาจากวัฒนธรรมของแต่ละสังคมและรัฐ ซึ่งถูกสะท้อนอย่างชัดเจนผ่าน

                  กฎหมายของรัฐนั้นๆ ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้ ได้มุ่งศึกษาถึงกฎหมาย ๔ รัฐในภูมิภาคเอเชีย

                  ตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งทั้ง ๔ รัฐมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง

                  กันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อและจารีต ซึ่งต่างเป็นปัจจัยส�าคัญในการก�าหนดลักษณะ

                  ของกฎหมายที่มีอิทธิพลต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเวียดนาม

                  ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แม้ว่าจะรับเอามุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่น�าเข้าจากตะวันตก

                  แต่การน�าแนวคิดนี้มาใช้มีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน กฎหมายที่

                  สะท้อนฐานคิดทางสังคมและวัฒนธรรม บางส่วนย้อนแย้งกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง

                  เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ทั้ง ๓ รัฐยินยอมให้จารีตประเพณีมีอิทธิพล ความส�าคัญ

                  เหนือกว่าสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของประชาชน







                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  161
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167