Page 197 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 197
๑๗๐
จากผลที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะมีการก าหนดไว้เป็นกฎหมายให้ประชาขนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ด าเนินงานที่ส่งผลกระทบกับสิทธิของประชาชนไว้แล้วก็ตาม ซึ่งระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
ที่ก าหนดไว้ ๕ ระดับ จากมากที่สุดที่จะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการด าเนินงาน ถึงในระดับต่ าสุด ดังนี้
(๑) การมีส่วนร่วมในระดับให้อ านาจกับประชาชน
(๒) การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ
(๓) การมีส่วนร่วมในระดับการเข้ามีบทบาท
(๔) การมีส่วนร่วมในระดับหารือ
(๕) การมีส่วนร่วมในระดับข้อมูลข่าวสาร
คณะผู้วิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในระดับข้อมูลข่าวสาร บทบาทของประชาชนจะน้อยมาก
เพราะรัฐจะเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูลกับประชาชนเพียงด้านเดียว และประชาชนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
เช่น การจัดท าป้าย การแจกวารสาร แต่อย่างไรก็ตามการทราบข้อมูลข่าวสาร ก็มีความจ าเป็นต่อการ
มีส่วนร่วมในระดับที่สูงขึ้น เพราะถ้าประชาชนไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วน การตัดสินใจที่สมเหตุสมผล
จะไม่เกิดขึ้น
จากสภาพปัญหาที่ผู้ศึกษาได้พบในพื้นที่ศึกษาทั้ง ๗ กรณี ตามค าร้องเรียน และเรียกร้องสิทธิ
ในที่ดินที่รัฐได้ประกาศเป็นกฎหมายหรืออยู่ในระหว่างด าเนินการจัดท าเป็นกฎหมาย พบได้ถึงประชาชน
ไม่ทราบข้อมูลและข้อเท็จจริง โดยหน่วยงานของรัฐผู้ด าเนินการไม่ได้แจ้งให้ประชาชนและผู้ก าหนด
เป็นกฎหมายทราบถึงข้อมูลในพื้นที่นั้นอย่างครบถ้วน ท าให้การก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
ทับซ้อนกับที่ดินท ากินและอยู่อาศัยของประชาชน และหน่วยงานของรัฐมิได้กระตือรือร้นหรือเร่งรัดแก้ไข
ข้อผิดพลาดที่เกิดกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชน ทั้งยังพบว่า ระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมยังอยู่ใน
ระดับต่ าสุด แม้จะมีการด าเนินการมากขึ้นในปัจจุบันในระดับหน่วยงานในท้องที่ผู้ปฏิบัติ เช่น กรณีพื้นที่
อยู่ในระหว่างด าเนินการเตรียมประกาศให้เป็นเขตอุทยานห่งชาติถ้ าผาไท จังหวัดล าปาง แต่หน่วยงาน
ในระดับนโยบายและส่วนกลางจะมีความเห็นหรือยอมรับในการด าเนินงานนั้นหรือไม่
จากการศึกษายังพบว่า ในพื้นที่ด าเนินการประกาศเป็นกฎหมายแล้วแต่ยังมีข้อผิดพลาด
ที่ตรวจสอบพบ แต่หน่วยงานของรัฐก็ยังมิได้มีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างจริงจัง เช่น กรณีปัญหา
การประกาศเขตอุทยานทับซ้อนกับแนวเขตพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนแนวเขตพื้นที่หวงห้ามที่ทหาร พ.ศ.
๒๔๘๑ จังหวัดกาญจนบุรี กรณีปัญหาที่ดินมีหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวงทับที่ตั้งชุมชนและที่ดินท ากิน
จังหวัดสกลนคร กรณีปัญหาชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่เขตอุทยานฯ ในอ าเภอวังน้ าเขียวจังหวัด
นครราชสีมา กรณีประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทับซ้อนเอกสารสิทธิที่ดินราษฎร จังหวัดพัทลุง
กรณีอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ประกาศเขตอุทยานทับที่ท ากิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และการประกาศเขต
ป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับที่ดินท ากินราษฎร จังหวัดราชบุรี เป็นต้น