Page 192 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 192

๑๖๕



                   เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่ไม่ปรากฎในแผนที่แนบท้ายได้ตลอดเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงเขตต าบล หรือ

                   อ าเภอ หรือเขตพื้นที่สาธารณประโยชน์ ท าให้เกิดข้อผิดพลาดในการก าหนดแนวเขตและประกาศออกมา
                   เป็นกฎหมาย ทั้งยังพบว่า ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ตามที่ก าหนดในรูปแผนที่ ซึ่งจากการศึกษา

                   พบได้จากพื้นที่กรณีศึกษา คือ กรณีปัญหาการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไททับที่ดินท ากิน
                   ที่อยู่อาศัยและป่าชุมชน พื้นที่ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลและ

                   หน่วยงานรัฐได้ด าเนินการตรวจสอบแนวเขต ส ารวจพื้นที่ และตรวจสอบการทับซ้อนแนวเขตกับหน่วยงานอื่น
                   อย่างละเอียดรอบคอบและชัดเจน ท าให้กระบวนการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไท

                   ใช้ระยะเวลายาวนาน นับแต่ตั้งปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบันก็ยังมิได้ด าเนินการประกาศเขตแต่อย่างใด
                   และยังพบได้จากกรณีปัญหาการประกาศเขตอุทยานทับซ้อนกับแนวเขตพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนแนว

                   เขตพื้นที่หวงห้ามที่ทหาร พ.ศ. ๒๔๘๑ พื้นที่ต าบลนาสวนและด่านแม่แฉลบ อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด
                   กาญจนบุรี โดยปัญหาการทับซ้อนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์กับแนวเขตพื้นที่ที่เพิกถอน

                   การหวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรให้กับประชาชน
                   ที่ถูกอพยพจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์  สามารถวิเคราะห์ได้ว่า มีการก าหนดแนวเขตอุทยาน

                   แห่งชาติคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงและมีการก าหนดจุดพิกัดพื้นที่ผิดพลาด ส าหรับอีกพื้นที่กรณีศึกษา
                   อีกพื้นที่หนึ่ง คือ กรณีปัญหาชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทับลาน พื้นที่อ าเภอ

                   วังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา  โดยมีปัญหาข้อขัดแย้งแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนแนวเขต
                   ปฏิรูปที่ดิน เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติ

                   โดยปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ประกาศทับซ้อนพื้นที่ชุมชนและเขตปฏิรูปที่ดิน ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวน
                   แห่งชาติป่าวังน้ าเขียว และป่าเขาภูหลวงให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และก าหนดให้เป็น

                   เขตปฏิรูปที่ดิน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑  สามารถวิเคราะห์ได้ว่า  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
                   ยังมิได้ด าเนินการปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานที่ประชาชนมีส่วนร่วมก าหนดแนวเขตใหม่ ที่จัดท า

                   ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้น  ซึ่งสาเหตุมาจากการออกกฎกระทรวงหรือพระราชกฤษฎีกา อันมีแผนที่
                   แนบท้ายอันเป็นกฎหมาย ซึ่งการด าเนินการใช้ระยะเวลานานมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และไม่เป็นไป

                   ตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ ท าให้เกิดความผิดพลาดด้านแผนที่แนบท้าย

                          5.๔ การก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ



                                 การก าหนดแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐที่ประชาชนถือครองท าประโยชน์อยู่ใน
                   แนวเขตที่ดินนั้น เป็นการกระทบสิทธิของประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน ประชาชนจะมีความผิด

                   ตามกฎหมายที่ถูกพื้นที่ทับซ้อนกับที่ดินท ากิน เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ หรืออุทยานแห่งชาติ ทั้งที่
                   เดิมประชาชนเหล่านั้นมีชีวิตความเป็นอยู่โดยธรรมชาติที่ปกติสุขทั่วไป แต่กลายมาเป็นผู้ที่ไม่ชอบ

                   ด้วยกฎหมาย เพราะอยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ สาเหตุเพราะในการก าหนดมิได้มี
                   การตรวจสอบกันอย่างจริงจัง หรือด าเนินการอย่างไม่รอบคอบ ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไป

                   ทั้งๆ ที่ประชาชนเหล่านั้นอาศัยท ากินในที่ดินบริเวณนั้นมาเป็นเวลาร้อยกว่าปีแล้วอย่างเช่น จากข้อมูล
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197