Page 194 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 194

๑๖๗



                          5.๖ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


                                 บางพื้นที่ที่ก าหนดเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ประเภทพื้นที่อนุรักษ์ เช่น ป่าสงวน

                   แห่งชาติ หรืออุทยานแห่งชาติ หรือวนอุทยานแห่งชาติ หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พบว่า ประชาชนอาศัย
                   ท าประโยชน์ในพื้นที่อันเป็นจุดวิกฤตหรือล่อแหลมต่อระบบนิเวศที่ต้องคุ้มครองไว้เป็นอย่างยิ่ง

                   ก่อนหน่วยงานจะด าเนินงานตามโครงการควรมีการศึกษาถึงวิถีชุมชน ความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มนั้น
                   ว่า ด าเนินวิถีชีวิตกันอย่างไร มีจุดที่รักษาหรือป้องกันมิให้กระทบกับสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศ

                   ที่เป็นอยู่อย่างไร มีการก าหนดระเบียบปฏิบัติของชุมชนอย่างไรบ้าง การศึกษาในพื้นที่ล่อแหลมในพื้นที่
                   กรณีศึกษาพบว่า ได้มีข้อก าหนดของชุมชนไว้อย่างเคร่งครัดจนเป็นแบบอย่างได้ โดยไม่มีความจ าเป็นที่

                   จะต้องใช้นโยบายการอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่อนุรักษ์นั้น เช่น พื้นที่กรณีศึกษาการ
                   เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไท พื้นที่บ้านกลาง ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง

                   เป็นต้น

                                 ทั้งนี้ การสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้น ให้ตระหนักถึงการเป็นพื้นที่

                   แหล่งต้นน้ าล าธารที่ต้องมีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน รักษาไว้ให้คงอยู่ และกระทบกับเขาโดยตรง รัฐต้อง
                   สร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนเข้าใจในด้านการอนุรักษ์อย่างถูกวิธี และก าหนดวิธีการในการอยู่กับพื้นที่
                   ควรสงวนรักษาอย่างยิ่งนั้นซึ่งจะดีกว่าการอพยพโยกย้ายประชาชนออกไป แต่หากต้องอพยพโยกย้าย

                   รัฐต้องให้การช่วยเหลือที่อยู่ใหม่ ท าให้สูญเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิม หากประชาชนเข้ามา

                   บุกรุกภายหลังในพื้นที่นั้นต้องด าเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ต้องสร้างการมีส่วนร่วม
                   ของประชาชนในพื้นที่ในการดูแลรักษาพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐประเภทพื้นที่อนุรักษ์ ทั้งการใช้
                   ประโยชน์อย่างถูกวิธีการและการรักษาไว้อย่างยั่งยืน


                                 แต่ในการด าเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่ผ่านมา มีแต่ต้องการอพยพโยกย้าย
                   ประชาชนแห่งท้องที่นั้นเพียงอย่างเดียว ไม่แก้ไขโดยวิธีอื่น ท าให้ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

                   อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่มีผลกระทบกับระบบนิเวศ

                          5.๗ กระบวนการยุติธรรมกับการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ



                                 การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐที่เกิดการทับซ้อนที่ดินของประชาชนและท าให้ประชาขน
                   เหล่านั้นเป็นผู้ที่ผิดกฎหมาย ถูกจับกุมด าเนินคดีตามที่กฎหมายก าหนด

                                 ในประเด็นนี้พบว่า กระบวนการด าเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่มีความผิดฐานเข้าใช้

                   ประโยชน์ในที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ยากจน โดยพบว่ามีความไม่เป็นธรรม

                   เกิดขึ้นใน ๒ ประการ คือ

                                 (๑) ความไม่เสมอภาค มีการเลือกปฏิบัติ จากการที่มีการปล่อยปละละเลยต่อผู้กระท า
                   ความผิด มีการด าเนินการทางคดีกับผู้ด้อยโอกาสและยากจนมากกว่านายทุนหรือผู้มีอิทธิพล
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199