Page 196 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 196
๑๖๙
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่
12 สิทธิชุมชน นอกจากจะได้มีการขยายสิทธิชุมชนแล้ว ยังมีเจตนารมณ์ที่จะท าให้การใช้สิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยการตัดถ้อยค าว่า
“ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออกจากบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในหลายมาตรา อันส่งผล
ท าให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้เกิดขึ้นทันทีตามรัฐธรรมนูญ
จากการศึกษาในพื้นที่ ๗ กรณีศึกษาที่กล่าวมาพบได้ว่า รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ได้ด าเนินการอย่างเร่งรัดและเร่งรีบ เพื่อให้มีการ
ประกาศเป็นกฎหมายออกมาก่อนแล้วจึงจะแก้ไขปัญหาตามที่มีการเรียกร้องหรือกระทบสิทธิในที่ดิน
ของประชาชนในภายหลัง รวมไปถึงการมิได้ตรวจสอบพื้นที่อย่างละเอียดอย่างรอบด้าน และรับฟัง
ความเห็นของประชาชนในพื้นที่นั้น จึงสรุปได้ว่าต้นเหตุของปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐที่มีความขัดแย้ง
และกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยและท าประโยชน์ในที่ดินนั้น เกิดมาจากต้นเหตุ คือ การที่
ไม่ได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานนั่นเอง หากให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ด าเนินงานแล้ว จะเป็นการสร้างการยอมรับของประชาชนไม่มีการโต้แย้งกันอีก สามารถคงรักษาแนวเขต
พื้นที่ที่ก าหนดไว้อย่างยั่งยืน มิให้เสื่อมสภาพได้ตลอดไป ท าให้เกิดความโปร่งใสในการท างาน ทั้งยังเป็น
การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุทั้งหมด
จึงจะเห็นได้ว่าผลจากการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ โดยที่มิได้ให้ประชาชนหรือ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วมในการด าเนินงาน ท าให้เกิดปัญหากระทบสิทธิของประชาชน
ในด้านที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัย มีข้อพิพาท คือ
๑. ในการด าเนินงานก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ประชาชนไม่ทราบข้อมูลและ
ข้อเท็จจริงของหน่วยงานของรัฐที่ก าหนดโครงการ ทั้งไม่ได้แจ้งให้ประชาชนและผู้ก าหนดเป็นกฎหมาย
ทราบถึงข้อมูลในพื้นที่นั้นอย่างครบถ้วน เกิดการขัดแย้ง เมื่อมีการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้าม
ของรัฐแล้ว ท าให้ไปทับซ้อนกับที่ดินท ากินและอยู่อาศัยของประชาชนที่อยู่อาศัยใช้ประโยชน์มาแต่เดิม
ท าให้มีข้อโต้แย้งเรียกร้องสิทธิ ไม่ยอมรับแนวเขตที่ดินที่รัฐก าหนดนั้น
๒. เมื่อหน่วยงานของรัฐมิได้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ในการก าหนดแนวเขตที่ดินสงวน
หวงห้ามของรัฐ ผลกระทบก็กลับไปยังหน่วยงานของรัฐนั้น คือ หน่วยงานของรัฐไม่ทราบถึงความไม่พอใจ
ของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งอาจจะหาทางเยียวยาหรือชี้แจงได้ แต่ก็ได้กลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โต
ส่งผลถึงการไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา
๓. ในเมื่อไม่มีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงานของรัฐที่ก าหนดแนวเขตที่ดิน แม้ว่าจะทราบถึง
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการก าหนดแนวเขตที่ดินให้ไปกระทบสิทธิของประชาชนตามที่ได้ด าเนินการไว้
ก็ไม่มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหา ปล่อยให้ปัญหาสะสมและเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลายประการ อันเกิด
จากไม่มีการติดตามหรือหาทางแก้ไขร่วมกันระหว่างประชาชนและหน่วยงานของรัฐ