Page 202 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 202
๑๗๕
โอกาสแสดงความคิดเห็น เช่น การจัดท าป้าย การแจกวารสาร แต่อย่างไรก็ตามการทราบข้อมูลข่าวสาร
ก็มีความจ าเป็นต่อการมีส่วนร่วมในระดับที่สูงขึ้น เพราะถ้าประชาชนไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วน
การตัดสินใจที่สมเหตุสมผลคงไม่เกิดขึ้น
การมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ มีการด าเนินงานที่แยกออก
จากกัน โดยพบว่า ข้อมูลข่าวสารมีส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สังกัดส านัก
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ การกระจายอ านาจมีส านักงานคณะกรรมการกระจายอ านาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดส านักนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน ส าหรับการมีส่วนร่วมของประชาชน
อยู่ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นหลัก แยกกันด าเนินการ
ท าให้ไม่ประสบผลส าเร็จตามที่กฎหมายก าหนดไว้ โดย ๓ ส่วนที่กล่าวมา ควรมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้อง
เป็นเรื่องเดียวกันและอยู่ด้วยกันโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียว
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้น าเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้เลือกกรณีค าร้อง จ านวน ๗ กรณีศึกษา โดยเน้นกรณีศึกษาในพื้นที่ ป่าไม้
จ านวน ๖ กรณี และที่ดินสงวนหวงห้ามกับที่ดินสาธารณประโยชน์ จ านวน ๑ กรณี โดยศึกษาจาก
ค าร้องเรียนในพื้นที่กรณีศึกษา ประกอบ รายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งรายงานการตรวจสอบจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และสภาผู้แทนราษฏร ทั้งข้อคิดเห็นของประชาชน
ในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ กรณี จากการจัดประชุมรับฟังความเห็น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๓๕๐ คน
เป็นประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น อ าเภอ เทศบาลต าบล องค์การ
บริหารส่วนต าบลและผู้ปกครองท้องที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ค าร้องที่ ๔๔๗/๒๕๔๗ การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับที่ดิน
ท ากินราษฎรบ้านตากแดด ต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ปัญหา : กรมป่าไม้จ าแนกให้พื้นที่บ้านตากแดด ต าบลยางหัก เป็นโซน E๑ เนื่องจากเป็นพื้นที่
ลาดชัน เพื่อกันพื้นที่ไว้ไม่ส่งมอบให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมน าไปปฏิรูปที่ดินท าให้
ชาวบ้านตากแดดไม่ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดิน
วิเคราะห์ได้ว่า : รัฐเป็นผู้ก าหนดเขตจ าแนกพื้นที่แต่ฝ่ายเดียว โดยการจ าแนกโซนพื้นที่เศรษฐกิจ
(โซน E) ออกเป็นพื้นที่ E๑ E๒ และ E๓ โดยไม่ค านึงถึงสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่าประชาชนท ากินมาก่อน ท า
ให้ประชาชนบ้านตากแดดซึ่งถูกก าหนดโซนให้เป็น โซน E๑ ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม ทั้งที่ขณะส่งมอบพื้นที่ให้น ามาด าเนินการปฏิรูปที่ดินมิได้ก าหนดเป็นโซนพื้นที่ดังกล่าว
มีเพียงโซนพื้นที่เศรษฐกิจ (โซน E) เท่านั้น
(๒) ค าร้องที่ ๔๓๑/๒๕๕๐ กรณีอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ประกาศเขตอุทยานทับที่ท ากิน
ที่ราษฎรท าประโยชน์มาก่อน พื้นที่อ าเภอเวียงสระ อ าเภอนาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี