Page 198 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 198
๑๗๑
ดังนั้น หากได้ด าเนินการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ หรือกรณีแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตไว้แล้ว ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนในการก าหนดแนวเขต
หรือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะท าให้รัฐและประชาชนได้ทราบข้อมูลข้อเท็จจริง น ามาประกอบการ
ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ท าให้มีการยอมรับไม่มีข้อโต้แย้ง ส่งผลให้ไม่ต้องมีการให้
แก้ไขปัญหากันอีกในอนาคต
จากการวิเคราะห์ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา แนวทางในการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐได้ ๘ ประเด็น คือ
๑. การมีส่วนร่วมของประชาชน และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และ
การกระจายอ านาจ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีองค์กร
รับผิดขอบหลักที่มีหน้าที่ในการก าหนดหลักเกณฑ์ ประชาชนและส่วนราชการยังไม่เห็นความส าคัญ
ของการมีส่วนร่วม ขาดรูปแบบการมีส่วนร่วมที่แท้จริง โครงสร้างระบบราชการไม่เกื้อหนุนให้ประชาชน
สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม รัฐมิได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส าหรับความสัมพันธ์กัน
ระหว่างการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน กฎหมายด้าน
การมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ ได้แยกหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบออก
จากกัน แยกกันด าเนินการ ไม่เป็นเอกภาพที่จะให้เกิดการบูรณาการ ส่งผลถึงการให้ประชาชนเข้าไปมี
ส่วนร่วมไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
๒. การทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของรัฐกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชน พบว่า การก าหนด
แนวเขตที่ดินของรัฐและมีการทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานภายในด้วยกัน มีการทับซ้อนกันระหว่าง
หน่วยงาน ยังพบอีกว่าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ด าเนินการก าหนดแนวเขต โดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
จากการจัดท าแนวเขตไม่ทราบข้อมูลในพื้นที่จริงว่าขอบเขตพื้นที่ที่ก าหนดเป็นอย่างไร แม้ว่าพบ
ข้อผิดพลาดแล้วก็ตาม แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้มีการแก้ไข ทั้งยังมีความล่าช้า หน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบยังไม่ด าเนินการในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง รวมทั้ง การไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องปัญหา
การทับซ้อนแนวเขตระหว่างหน่วยงาน
๓. การพิจารณาออกกฎกระทรวง หรือ พระราชกฤษฎีกา ก าหนดให้มีแผนที่แนบท้ายอันถือเป็น
ส่วนหนึ่งของกฎหมาย พบว่า ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย
แต่ไม่มีความรู้ในด้านแผนที่ ท าให้เกิดความล่าช้า เกิดความผิดพลาดในการจัดท าแผนที่แนบท้ายพระราช
กฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ก าหนดในรูปแผนที่
๔. การก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ พบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ถูกก าหนด
ขอบเขตเหล่านี้ เป็นผู้กระท าผิดตามกฎหมาย วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป กระทบสิทธิของประชาชน ละเมิดสิทธิ
มนุษยชน และไม่มีหน่วยงานใดเข้ามารับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น