Page 195 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 195

๑๖๘



                              โดยในประเด็นความไม่เสมอภาค มีการเลือกปฏิบัติ พบว่า ตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุม

               สอบสวน ส่งอัยการฟ้องคดี และการพิจารณาพิพากษาตัดสินของศาล เนื่องจากความรู้เรื่องประวัติของ
               พื้นที่ วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้ความเชี่ยวชาญของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมแตกต่างกัน

               ทั้งในด้านทัศนคติและการน าตัวบทกฎหมายมาใช้บังคับ ทั้งยังมีการเลือกปฏิบัติ โดยหากเป็นนายทุนหรือ
               ผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมือง มักจะมีการมองไม่เห็นในการกระท านั้น หรือไม่เร่งรัดท าให้ล่าช้า และ

               ผู้พิจารณาในขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาจนถึงการพิพากษาของศาล ก็เชื่อในข้อมูลของหน่วยงานราชการภาครัฐ
               เป็นหลัก ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้ยากจน

                              (๒) การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมใช้ระยะเวลานาน ผู้ยากจนไม่มีเงินประกันตัวและ

               ต่อสู้คดี

                              ด้านการต่อสู้คดีของประชาชน พบว่า จากการใช้ระยะเวลาด าเนินการเป็นเวลานาน

               ตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุม การสอบสวน การฟ้องคดี และการพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นศาล ประชาชนต้อง
               มีค่าใช้จ่ายในการด าเนินการ ตั้งแต่ค่าเดินทางและการใช้หลักทรัพย์ประกันตัว ซึ่งกระทบกับประชาชน

               ที่ถูกด าเนินคดีทั้งสิ้น บางรายต้องถูกจ าคุกเพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ าประกัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันหน่วยงาน
               ที่เกี่ยวข้องในด้านนี้จะมีการให้ความช่วยเหลือ แต่ประชาชนผู้ถูกด าเนินคดีก็ไม่ทราบข้อมูลที่จะเดินทางไป

               ประสานให้มาเป็นที่พึ่งได้ และไม่มีกระบวนการยุติธรรมที่ก าหนดไว้โดยเป็นการเฉพาะ เช่น ในเรื่อง
               หลักทรัพย์ค้ าประกัน และกระบวนการพิจารณาคดีที่รวดเร็วและเข้าใจผู้ยากจน


                       5.๘ ปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ


                              เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้เริ่มเกิดผลบังคับในทางปฏิบัติตามค าวินิจฉัยศาล

               รัฐธรรมนูญ ที่ 3/2552 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยโดยวางบรรทัดฐานไว้ว่า โครงการหรือกิจกรรม
               ที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

               ของประชาชนจะต้องด าเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติไว้ทันทีตั้งแต่วันที่
               รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ โดยไม่ต้องมีการตรากฎหมายมารองรับสิทธิแต่ประการใด และมีความชัดเจน

               มากยิ่งขึ้น เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้มีค าสั่งที่ 592/2552 (คดีมาบตาพุด) สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปด
               สั่งระงับโครงการหรือกิจกรรม รวม 65 โครงการไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีค าพิพากษาหรือ

               ค าสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นด้วยเหตุที่การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว ยังไม่มีการด าเนินการ
               ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรคสองให้ครบถ้วนก่อน ค าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและค าสั่งศาลปกครอง

               สูงสุดดังกล่าว ส่งผลท าให้ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชนผู้ประกอบการ เริ่มมีความตื่นตัวและ
               ให้ความส าคัญกับสิทธิชุมชนและรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 มากขึ้น

                              หากการด าเนินการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ก าหนดให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

               เข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานตั้งแต่ต้นจนจบ จะเป็นการสร้างการยอมรับของประชาชนไม่มีการ

               โต้แย้งกันอีก สามารถคงรักษาแนวเขตพื้นที่ที่ก าหนดไว้อย่างยั่งยืน มิให้เสื่อมสภาพได้ตลอดไป ท าให้เกิด
               ความโปร่งใสในการท างาน ทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุทั้งหมด ดังเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่ง
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200