Page 200 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 200

บทที่ 6

                                               บทสรุปและข้อเสนอแนะ







                          จากการที่คณะผู้วิจัยได้ท าการศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของ
                   หน่วยงานหลักในการบริหารจัดการที่ดินโดยตรง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ความส าคัญของการ
                   จัดท าแนวเขต สภาพปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดท าแนวเขตที่ดินสงวน

                   หวงห้ามของรัฐ กฎหมาย ระเบียบ และค าสั่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วม

                   ของประชาชน รวมไปถึงได้ปฏิบัติงานศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ การรับฟัง
                   ความคิดเห็น และได้ทราบข้อเท็จจริงของประชาชนผู้เดือดร้อนในพื้นที่กรณีศึกษา ทั้งผลสรุป
                   จากแบบสอบถาม ท าให้พบถึงปัญหาในการด าเนินงานก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ จึงได้

                   วิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา แนวทางในการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดแนวเขต

                   ที่ดินของรัฐว่า หากให้ประชาชนผู้มีส่วนได้และส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานตั้งแต่ต้น
                   ในทุกขั้นตอนแล้ว จะท าให้ไม่มีข้อขัดแย้งและมีการยอมรับ ไม่มีข้อขัดแย้งด้านที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ
                   ทับซ้อนที่ดินท ากินและอยู่อาศัยของประชาชน เพราะทราบข้อเท็จจริงและร่วมในการด าเนินงานตั้งแต่ต้น

                   ทั้งยังสามารถดูแลรักษาไว้ได้อย่างถาวรด้วย สามารถสรุปได้ ดังนี้

                          กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการที่ดิน ที่มี

                   การก าหนดขอบเขตโดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ส าคัญในการก าหนดแนวเขตกระทบสิทธิ
                   ในที่ดินของประชาชน ได้แก่  พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗ ของกรมที่ดิน

                   พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมพัฒนาสังคมและ

                   สวัสดิการ  พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.  2518 ของส านักงานการปฏิรูปที่ดิน

                   เพื่อเกษตรกรรม  พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.
                   2507 ของกรมป่าไม้ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.  2504 และพระราชบัญญัติสงวนและ

                   คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ

                   พ.ศ. 2518 ของกรมธนารักษ์ พบว่า ในการก าหนดพื้นที่สงวนหวงห้ามและก าหนดให้พื้นที่ใดเป็นขอบเขต
                   ตามที่กฎหมายก าหนดดังกล่าว มีการก าหนดให้มีแผนที่ หรือรูปแผนที่แนบท้าย หรือก าหนดรูปแผนที่

                   ไว้ในกฎหมายนั้นด้วย แนวเขตที่ก าหนดในรูปแผนที่ตามกฎหมายตามที่กล่าวมา ล้วนกระทบสิทธิในที่ดิน

                   ของผู้ถือครองท าประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนการประกาศให้พื้นที่นั้นเป็นกฎหมาย


                          การก าหนดแนวเขตพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์หลักเป็นไปเพื่อให้รู้ขอบเขตส าหรับการแบ่งสันปันส่วน
                   ระหว่างกัน  หน่วยงานของรัฐได้ก าหนดพื้นที่หวงห้ามในแต่ละหน่วยงานขึ้นตามรูปแบบต่างๆ ปัญหา
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205