Page 201 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 201
๑๗๔
เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินจึงมีจ านวนเพิ่มมากขึ้น การแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว ต้องใช้ทั้งแนวเขตและสภาพ
ข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่มีการหวงห้ามเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา
การประกาศก าหนดให้เป็นที่ดินของรัฐแบ่งแยกออกตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายของรัฐได้เป็น
2 ประเภท คือ
1) เป็นพื้นที่ที่รัฐมีวัตถุประสงค์ในการสงวนเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ ทั้งแก่รัฐและแก่
ประชาชน
2) เป็นพื้นที่ที่รัฐมีวัตถุประสงค์ในการสงวนเพื่อการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
จากที่กล่าวมาในการก าหนดแนวเขตที่ดินของประเทศไทย ให้เป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
ที่ส าคัญ ได้แก่ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยมีหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง หรือการก าหนดพื้นที่
อนุรักษ์ เช่น ก าหนดพื้นที่ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเขตอุทยาน
แห่งชาติ มีการก าหนดกระบวนงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานออกมาอย่างรัดกุมครบถ้วนแล้วก็ตาม หรือ
แม้แต่การก าหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นการให้สิทธิกับประชาชน ก็ล้วนแต่มีปัญหากระทบกับสิทธิในที่ดิน
ของประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาได้ ๓ ประการ ดังนี้
๑. แนวเขตที่ก าหนดมีการทับซ้อนกันระหว่างพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ
๒. แนวเขตที่ก าหนดมีความผิดพลาด ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งในสภาพปัญหานี้สามารถ
จ าแนกได้เป็น ๓ ปัญหาย่อย คือ
๒.๑ การไม่ยอมรับ
๒.๒ ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
๒.๓ แนวเขตที่ก าหนดล้าสมัย
๓. ความล่าช้าในการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
การมีส่วนร่วมของประชาชน แบ่งระดับการมีส่วนร่วมเป็น ๕ ขั้น โดยแต่ละขั้นจะเรียงล าดับจาก
การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดไปถึงระดับน้อยที่สุด ดังนี้
(๑) การมีส่วนร่วมในระดับให้อ านาจกับประชาชน
(๒) การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ
(๓) การมีส่วนร่วมในระดับการเข้ามีบทบาท
(๔) การมีส่วนร่วมในระดับหารือ เป็นลักษณะการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น ประชาชนจึงมีบทบาทในการให้เฉพาะ
ข้อมูลเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจก็เป็นของหน่วยงานทางภาครัฐ
(๕) การมีส่วนร่วมในระดับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นระดับต่ าสุดในการมีส่วนรวม บทบาท
ของประชาชนจะน้อยมากเพราะรัฐจะเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูลกับประชาชนเพียงด้านเดียว และประชาชนไม่มี