Page 193 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 193

๑๖๖



               การตรวจสอบและประชุมผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่กรณีตัวอย่าง แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนที่ดินท ากิน

               พื้นที่บ้านตากแดด ต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ชาวกะเหรี่ยงในท้องที่ที่อยู่ในพื้นที่เขต
               ป่าสงวนแห่งชาติ และกรณีการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไท พื้นที่บ้านกลาง ต าบลบ้านดง

               อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในระหว่างการประกาศเป็นเขตอุทยาน
               แห่งชาติ ซึ่งชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมีวิถีชีวิต การด ารงชีพตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ท าให้สูญเสีย

               รายได้และวิถีชีวิตดั้งเดิม ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคม แม้ว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจะผ่อนปรน
               ให้อยู่ในพื้นที่นั้นต่อไปได้ แต่ทางกฎหมายก็ยังถือว่าประชาชนเหล่านี้เป็นผู้กระท าผิด อยู่กับความ

               หวาดระแวง ซึ่งหากนโยบายเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตจะส่งผลถึงความมั่นคงในการอยู่อาศัยและ
               ใช้ประกอบอาชีพอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทั้งยังพบว่า ไม่มีหน่วยงานใดสร้างความมั่นใจและออกมารับผิดชอบ

               หรือประกันในความเสี่ยงที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในอนาคต

                       5.๕ การจ าแนกที่ดิน และการก าหนดแนวเขตที่ดิน



                              ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กระทรวงมหาดไทย และ
               กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดท าโครงการส ารวจจ าแนกประเภทที่ดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่

               14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ให้รักษาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยไว้
               เป็นสมบัติของชาติให้ได้ร้อยละ 50 (ป่าไม้ถาวร) และให้หาพื้นที่ที่เหลือเพื่อน ามาจัดสรรให้แก่ประชาชน

               ที่จะเพิ่มขึ้นให้สมดุลกัน

                              การจ าแนกประเภทที่ดินออกเพื่อให้เป็นที่ท ากิน  และเพื่อการก าหนดให้เป็นพื้นที่

               ป่าสงวนทั่วประเทศ  โดยการก าหนดเขตพื้นที่ป่าไม้ถาวรเพื่อก าหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติต่อไป และ
               การจ าแนกประเภทที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกรณีต่างๆ ที่ด าเนินการมาในอดีต มีการจ าแนกที่ดิน
               (Zoning)  ซึ่งมีเหตุผลเพื่อการพัฒนาประเทศและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ภาพแผนที่

               เส้นชั้นความสูง (Contour  Line)  หรือเส้นที่แสดงลักษณะความสูงต่ าของพื้นที่เป็นตัวก าหนด เป็นการ

               ด าเนินการที่ล้าสมัย ทั้งในด้านข้อเท็จจริง และทางวิชาการที่ควรจะมีการผสมผสานในการใช้ประโยชน์ใน
               ที่ดิน (ก าหนดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓) ท าให้พื้นที่ในภาคเหนือของประเทศถูกก าหนดไว้เป็นพื้นที่อนุรักษ์
               มากที่สุด ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลางตามล าดับ ท าให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์

               ทางเศรษฐกิจน้อย ทั้งๆ ที่ประชาชนมีจ านวนมากอยู่กันอย่างหนาแน่น ซึ่งเมื่อขัดต่อความเป็นจริงและ

               สภาพการใช้ประโยชน์ ก็เกิดการขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ที่อนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้

                              จึงจะเห็นได้ว่าการจ าแนกที่ดิน และการก าหนดแนวเขตที่ดิน เพื่อการพัฒนาประเทศ
               และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมา ประกอบกับจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น มีการใช้ประโยชน์

               ในที่ดินอันหลากหลาย มีวิชาการใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ท าให้การใช้เส้นที่แสดงลักษณะความ
               สูงต่ าของพื้นที่เป็นตัวก าหนดแนวเขตที่ดินตามการจ าแนก เป็นการด าเนินการที่ล้าสมัย และไม่เป็นไปตาม

               ข้อเท็จจริงตามความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของพื้นที่
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198