Page 190 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 190
๑๖๓
และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรณีประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทับซ้อนเอกสาร
สิทธิที่ดินราษฎร พื้นที่ต าบลพนางตุง อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กรณีปัญหาชาวบ้านถูกกล่าวหาว่า
บุกรุกพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา กรณีปัญหาการประกาศเขต
อุทยานแห่งชาติ ทับซ้อนกับแนวเขตพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนแนวเขตพื้นที่หวงห้ามที่ทหาร พื้นที่ต าบล
นาสวนและด่านแม่แฉลบ อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กรณีปัญหาที่ดินมีหนังสือส าคัญส าหรับ
ที่หลวงทับที่ตั้งชุมชนและที่ดินท ากิน พื้นที่ต าบลหนองหาร อ าเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และกรณีปัญหา
การเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไททับที่ดินท ากิน ที่อยู่อาศัยและป่าชุมชน พื้นที่ต าบลบ้านดง
อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง
คณะผู้ศึกษาวิจัยพบว่า การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐและมีการทับซ้อนกันระหว่าง
หน่วยงานภายในด้วยกัน เช่น กรมป่าไม้ก าหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งเดิมเป็นหน่วยงานเดียวกันที่รับผิดชอบ และพบว่ามีการทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงาน เช่น พื้นที่เขต
ปฏิรูปที่ดิน กับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ ทั้งยังพบอีกว่าหน่วยงานของรัฐเป็น
ผู้ด าเนินการก าหนดแนวเขต โดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดท าแนวเขตไม่ทราบข้อมูลในพื้นที่
จริงว่าขอบเขตพื้นที่ที่ก าหนดเป็นอย่างไร แม้ว่าพบข้อผิดพลาดแล้วก็ตาม แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยัง
ไม่ได้มีการแก้ไข เช่น กรณีแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ทับซ้อนกับแนวเขตพื้นที่เพิกถอนการ
หวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร พื้นที่ต าบลนาสวนและด่านแม่แฉลบ
อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ทับซ้อนกับที่ดินของ
ประชาชนที่รัฐได้จัดสรรให้กับผู้ที่อพยพโยกย้ายจากการใช้พื้นที่เพื่อสร้างเขื่อน เกิดปัญหาข้อเรียกร้องและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแล้ว พบว่า มีการจัดวางต าแหน่งค่าพิกัดผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจาก
ในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจริง แต่ก็มิได้ด าเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง ทั้งยังมีความ
ล่าช้า หน่วยงานผู้รับผิดชอบยังไม่ด าเนินการในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง
กรณีแนวเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นทับซ้อนที่ดินท ากิน พื้นที่อ าเภอเวียงสระ อ าเภอ
นาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การให้พิสูจน์สิทธิเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วย
ความล่าช้า ทั้งๆ ที่ประชาชนมิได้บุกรุกพื้นที่เขตอุทยานหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพราะประชาชนเข้ามา
อยู่อาศัยหรือเข้าท าประโยชน์ในเขตป่าไม้ถาวร ในขณะที่ยังไม่มีการประกาศเป็นที่สงวนหวงห้ามหรือ
อุทยานแห่งชาติในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นผู้บุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศก าหนด
ในภายหลัง ในขณะที่ท าการก าหนดแนวเขตพื้นที่ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และพัฒนามาเป็นอุทยาน
แห่งชาติมิได้ดูในเรื่องสิทธิในที่ดินของประชาชนที่มีอยู่เดิมเลย
ในการแก้ไขข้อผิดพลาดก็เช่นกัน การปรับปรุงแนวเขตเพื่อมิให้กระทบสิทธิในที่ดิน
ของประชาชนหรือการรีเชฟ ได้ด าเนินการมาแล้วถึง ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ การปรับปรุงเขตพื้นที่ป่าไม้
เริ่มด าเนินการในปี ๒๕๕๐ โดยให้มีการตรวจสอบและด าเนินการปรับปรุงแนวเขตของพื้นที่ป่าไม้
และหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นเส้นเดียวกัน ครั้งที่ ๒ เป็นการสอบทาน โดยด าเนินการในรูปแบบเดียวกัน