Page 188 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 188
๑๖๑
ในการจัดระบบการบริการสาธารณะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกก าหนดให้มีช่องทาง
เข้ามามีส่วนร่วมมากมายหลายช่องทางและหลายรูปแบบ แต่ไม่มีการขับเคลื่อนอย่างเท่าที่ควร ท าให้
พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนดังกล่าวเป็นเพียงการมีส่วนร่วมในเชิงรูปแบบเท่านั้น
(๓) ประชาชนและส่วนราชการยังไม่เห็นความส าคัญของการมีส่วนร่วม ท าให้เกิด
ความไม่เข้าใจและขาดรูปแบบการมีส่วนร่วมที่แท้จริง พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันโดยมาก เป็นการมีส่วนร่วมแบบการรับทราบการด าเนินการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งนับว่า เป็นการมีส่วนร่วมในระดับที่ต่ าที่สุด การมีส่วนร่วมที่แท้จริงนั้น ประชาชน
ต้องมีความสมัครใจและมีส่วนในการร่วมรับผิดชอบในการตัดสินใจตั้งแต่ การร่วมกระบวนการวางแผน
ร่วมการด าเนินกิจกรรม ร่วมใช้ประโยชน์จากกิจกรรม และร่วมได้รับประโยชน์จากกิจกรรม ซึ่งรูปแบบ
การมีส่วนร่วมในปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมที่แท้จริง
(๔) กฎหมายที่หน่วยงานราชการต่างๆ ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นระบบการปกครองแบบรวมศูนย์
อ านาจ เป็นการบริหารราชการในระบบส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นระบบของราชการ
ที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทั้งสิ้น ท าให้โครงสร้างระบบราชการ
ไม่เกื้อหนุนให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้เลย หากสามารถให้การบริหารราชการส่วนกลาง
ถึงส่วนท้องถิ่นหรือประชาชนได้โดยตรงไม่ต้องผ่านส่วนภูมิภาค โดยเน้นการใช้ระบบสารสนเทศจะเป็นไปได้
ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง
(๕) ที่ผ่านมาประเทศไทยเน้นการมีส่วนร่วมในทางการเมือง ด้านสิทธิที่ประชาชน
พึงได้รับทางการเมือง และการปกครอง เช่น การรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งมีเพียง
เชิงปริมาณโดยไม่มีเชิงคุณภาพให้เป็นที่ประจักษ์ ส าหรับในด้านการบริหารราชการทางเศรษฐกิจ สังคม
และการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รัฐมิได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น หากจะให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
รัฐต้องก าหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความเป็นอยู่ของ
ประชาชน
ส าหรับความสัมพันธ์กันระหว่างการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ
พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนตัดสินใจในการก าหนดและแก้ไข
ปัญหาของตน ชุมชน ท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยก าหนดรูปแบบไว้ คือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับ
ผลประโยชน์ ร่วมในการติดตามและประเมินผล ซึ่งก็คือร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นนั่นเอง
กฎหมายด้านการมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ ได้แยก
หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบออกจากกัน ทั้งที่การสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นกับประชาชน และชุมชน
ท้องถิ่น ต้องเริ่มจากการให้รับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารเป็นล าดับแรก แล้วจึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอน