Page 187 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 187
๑๖๐
ระหว่างหน่วยงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินที่ทับซ้อนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐควรแก้ไข
ปัญหาแนวเขตให้เป็นปัจจุบัน ด าเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ภาครัฐควรบังคับใช้กฎหมาย
อย่างจริงจัง ด าเนินการตามกฎหมายไม่เน้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง รวมทั้ง ร่วมกันแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ของทุกหน่วยงานให้มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบัน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชน
กับที่ดินของรัฐต้องเร่งแก้ไข ควรเร่งจัดท าแผนแม่บทในการก าหนดเขตที่ดินของรัฐทุกแปลง โดยตั้ง
คณะท างานระดับจังหวัดให้เป็นผู้เสนอแนวทางและน าเข้าสภานิติบัญญัติออกเป็นกฎหมาย
จากการศึกษาตามที่กล่าวมา สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยพบว่า สาเหตุทั้งสิ้น
เกิดมาจากการที่มิได้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการด าเนินงานตั้งแต่ต้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์ถึง
สภาพปัญหาได้ ๘ ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 การมีส่วนร่วมของประชาชน และความสัมพันธ์ของการมี
ส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ ประเด็นที่ 2 การทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของรัฐกระทบ
สิทธิในที่ดินของประชาชน ประเด็นที่ 3 การพิจารณาออกกฎกระทรวง หรือพระราชกฤษฎีกา ประเด็นที่
4 การก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ประเด็นที่ 5 การจ าแนกที่ดิน และการก าหนดแนวเขต
ประเด็นที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเด็นที่ 7 กระบวนการ
ยุติธรรมกับการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ และประเด็นที่ 8 ปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ
การวิเคราะห์ในแต่ละประเด็น มีดังต่อไปนี้
5.๑ การมีส่วนร่วมของประชาชน และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วม ข้อมูล
ข่าวสาร และการกระจายอ านาจ
การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ไม่มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในหน่วยงานที่
รับผิดชอบให้มีการด าเนินการในเรื่องนี้โดยตรง และหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องด าเนินงานและเกิดผลได้ ผลเสีย
กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นั้น ทั้งในหน่วยงานก็ยังมิได้ก าหนดให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้
อย่างเป็นระบบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
(๑) มาตรการทางกฎหมายในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในปัจจุบันยังไม่มี
กฎหมายก าหนดไว้โดยตรง นอกจากระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงมีช่องว่างหรืออุปสรรคที่ยากจะท าให้
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเกิดขึ้นได้จริง เมื่อไม่มีกฎหมายด าเนินการโดยตรง การสร้างการมีส่วนร่วม
ตามกฎหมายที่มีอยู่ในกฎหมายบริหารราชการแผ่นดินฉบับอื่นๆ ก็ไม่สามารถครอบคลุมให้ด าเนินการได้
อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรที่มีหน้าที่ในการก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการมีส่วนร่วมในระดับกรม
สมควรจะมีขึ้น หากการมีส่วนร่วมก าหนดไว้เฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้วให้ด าเนินการไปได้นั้น พบว่า
ไม่เพียงพอ ต้องมีกฎหมายอื่นที่ก าหนดให้มีองค์กรปฏิบัติหรือผู้รับผิดชอบด้วย
(๒) พระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ก าหนดให้คณะกรรมการ ตามมาตรา ๑๒ มีอ านาจหน้าที่ในการเสนอแนะและ
จัดระบบตรวจสอบการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น อีกทั้งยังก าหนดอ านาจและหน้าที่