Page 185 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 185
๑๕๘
การหวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรให้กับประชาชน
ที่ถูกอพยพจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ สามารถวิเคราะห์ได้ว่า มีการก าหนดแนวเขตอุทยาน
แห่งชาติคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงและมีการก าหนดจุดพิกัดพื้นที่ผิดพลาด ต้องแก้ไขให้ประโยชน์กับ
ประชาชน
(๔) กรณีประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทับซ้อนเอกสารสิทธิที่ดินพื้นที่ต าบลพนางตุง
อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
ห้ามมิให้มีการครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท าให้ส่งผลกระทบต่อ
ประชาชนที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินที่ครอบครองท าประโยชน์มาก่อนการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
ต้องสูญเสียสิทธิและเป็นผู้ครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อมีการแก้ไข
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดครอบครองที่ดินในเขต
ห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งในการประกาศเดิมมีที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ ที่ดินที่มีการครอบครอง เป็นการเพิ่มความ
เข้มข้นของกฎหมายที่กระทบสิทธิของประชาชน เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนที่พึงมี
(๕) กรณีปัญหาการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ถ้ าผาไททับที่ดินท ากิน ที่อยู่อาศัยและป่าชุมชน
พื้นที่ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง จากปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนจากการทับซ้อนพื้นที่
ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ท ากิน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยชุมชนไม่รับทราบรับทราบข้อมูลการด าเนินการ
ของหน่วยงานรัฐ และรับทราบเมื่อรัฐได้ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนไปแล้ว เป็นเรื่องยาก
ที่ประชาชนจะโต้แย้งเพื่อให้รัฐปรับปรุงแก้ไขแนวเขตภายหลัง ท าให้ประชาชนกลายเป็นผู้ผิดกฎหมายถูก
ด าเนินคดี ยึดที่ดินท ากิน และพืชผลถูกท าลาย เป็นปัญหาที่ชุมชนในพื้นที่บ้านกลาง ต าบลบ้านดง อ าเภอ
แม่เมาะ จังหวัดล าปาง เกรงว่าจะเกิดขึ้นกับชุมชน สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การเตรียมการประกาศอุทยาน
แห่งชาติถ้ าผาไท ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลและหน่วยงานรัฐได้ด าเนินการตรวจสอบแนวเขต ส ารวจพื้นที่
และตรวจสอบการทับซ้อนแนวเขตกับหน่วยงานอื่น อย่างละเอียดรอบคอบและชัดเจน ท าให้กระบวนการ
เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไทใช้ระยะเวลายาวนาน นับแต่ตั้งปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมของประชาชนมิได้เป็นที่ยอมรับและระบุไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อร่วม
ก าหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติหรืออื่นๆ อย่างชัดเจน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดจากการ
ตื่นตัวและเรียกร้องของประชาชนมากกว่า
(๖) กรณีปัญหาชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทับลาน พื้นที่อ าเภอ
วังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีปัญหาข้อขัดแย้งแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนแนวเขต
ปฏิรูปที่ดิน และการใช้ประโยชน์ในที่ดินอ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและ
ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติ โดยปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ประกาศ
ทับซ้อนพื้นที่ชุมชนและเขตปฏิรูปที่ดิน ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ าเขียว และ
ป่าเขาภูหลวงให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และก าหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ในปี พ.ศ.
๒๕๒๑ สามารถวิเคราะห์ได้ว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังมิได้ด าเนินการปรับแนวเขต
อุทยานแห่งชาติทับลานที่ประชาชนมีส่วนร่วมก าหนดแนวเขตใหม่ ที่จัดท าขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐