Page 186 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 186

๑๕๙



                   เนื่องจากรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ยกเลิก มติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้า

                   รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐
                   ในเขตป่าเขาภูหลวง ที่มีการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติเพื่อน ามาปฏิรูปที่ดินแต่ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าว

                   ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และพื้นที่โซน C  ท าให้ไม่สามารถให้สิทธิจากการปฏิรูปที่ดินได้
                   และต้องเพิกถอนสิทธิในบางแปลง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนที่รัฐจะต้อง

                   ค านึงถึงและน ามาพิจารณาในการแก้ไขปัญหาต่อไป นอกจากปัญหาทับซ้อนในเรื่องแนวเขตแล้ว ยังมี
                   เงื่อนไขด้านประชากรที่เพิ่มขึ้นที่รัฐต้องปรับแนวคิดในการแก้กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ที่ไม่สอดคล้องกับ

                   สถานการณ์ปัจจุบัน

                          (๗) กรณีปัญหาที่ดินมีหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวงทับที่ตั้งชุมชนและที่ดินท ากิน พื้นที่ต าบล
                   หนองหาร อ าเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  โดยรัฐประกาศพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดิน

                   ในท้องที่อ าเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๔ ทับซ้อนพื้นที่ชุมชนเก่าแก่ ซึ่งตั้งถิ่นฐานมามา
                   ก่อนพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินฯ  สามารถวิเคราะห์ได้ว่า พื้นที่หนองหารยังมีปัญหา

                   การออกเอกสารสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตพื้นที่หนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง แต่ที่ดินที่ประชาชน
                   ถือครองและใช้ประโยชน์มีมาก่อนแต่ไม่ได้รับเอกสารสิทธิ ท าให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม

                   การก าหนดเขตที่ดินของรัฐ ที่ผ่านมาประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการกันพื้นที่ท ากินและที่ตั้งชุมชนออกจาก
                   แนวเขตที่ดินของรัฐ ในขณะที่จ านวนประชากรก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับไม่สามารถชี้แนวเขต

                   พระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามได้ ท าให้ประชาชนจ านวนมากเสียสิทธิในการออกเอกสารสิทธิ
                   ในที่ดิน


                          นอกจากนี้ ได้มีการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนโดยใช้แบบสอบถามเป็นการส ารวจข้อมูลการ
                   มีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ เนื่องจากการส ารวจต้องการทราบถึงข้อคิดเห็นและ

                   ข้อเสนอแนะของประชาชนที่ประสบปัญหาในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ แห่ง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
                   ผลการตอบแบบสอบถามสรุปได้ว่า ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

                   ในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ พบว่า มีความรู้ ความเข้าใจในระดับมากถึงมากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่คิด
                   ว่ายังมีส่วนร่วมในระดับที่น้อยมากจนถึงปานกลาง แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์

                   ชี้แจงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นยังไม่ทั่วถึง

                          ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางให้ภาครัฐน าไป
                   ปรับปรุงการด าเนินงานก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ สามารถสรุปประเด็นส าคัญๆ คือ ภาครัฐควร

                   ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ชี้แจง และสร้างความเข้าใจกับประชาชนและท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจ
                   ในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่

                   เป็นจริง ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยให้ภาครัฐจัดตั้งกลไกการแก้ไขปัญหาที่ดินแนว
                   เขตทุกระดับก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการก าหนดกฎเกณฑ์

                   ในการใช้ประโยชน์ในที่ดินและรักษาพื้นที่ป่า รวมทั้งให้ภาคประชาชนและท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นคณะท างาน
                   หรือออกส ารวจพื้นที่ร่วมกัน ภาครัฐควรเร่งจัดท าแนวเขตให้มีความชัดเจน มีการบูรณาการร่วมกัน
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191