Page 184 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 184
๑๕๗
ของประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาได้ ๓ ประการ คือ ประการที่ ๑ แนวเขตที่ก าหนดมีการ
ทับซ้อนกันระหว่างพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ ประการที่ ๒ แนวเขตที่ก าหนดมีความผิดพลาด ไม่เป็นไป
ตามข้อเท็จจริง ซึ่งในสภาพปัญหานี้สามารถจ าแนกได้เป็น ๓ ปัญหาย่อย คือ การไม่ยอมรับของประชาชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการก าหนดแนวเขตของหน่วยงานของรัฐที่ใช้บังคับเป็นกฎหมาย การไม่เป็นไปตาม
ข้อเท็จจริง และแนวเขตที่ก าหนดล้าสมัย และประการที่ ๓ ความล่าช้าในการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวน
หวงห้ามของรัฐ
จากการได้ปฏิบัติงานศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ การรับฟัง
ความคิดเห็นและได้ทราบข้อเท็จจริงของประชาชนผู้เดือดร้อนในพื้นที่กรณีศึกษา ทั้งผลสรุป
จากแบบสอบถาม ท าให้พบถึงปัญหา ในการด าเนินงานก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ มักเกิด
ปัญหากระทบสิทธิในที่ดินของประชาชนแห่งท้องถิ่นนั้นมาโดยตลอด โดยพบจากการที่คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหา
การทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐ กับที่ดินท ากินและอยู่อาศัยของประชาชน การศึกษาได้เลือกกรณีค าร้อง
ดังกล่าว จ านวน ๗ กรณีศึกษา ทั้งข้อคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ กรณี โดยพบว่า
(๑) กรณีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับที่ดินท ากินราษฎร
บ้านตากแดด ต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยกรมป่าไม้จ าแนกให้พื้นที่บ้านตากแดด ต าบล
ยางหักเป็นโซน E๑ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดชัน เพื่อกันพื้นที่ไว้ไม่ส่งมอบให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรมน าไปปฏิรูปที่ดินท าให้ชาวบ้านตากแดดไม่ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดิน สามารถวิเคราะห์
ได้ว่า รัฐเป็นผู้ก าหนดเขตจ าแนกพื้นที่แต่ฝ่ายเดียว โดยการจ าแนกโซนพื้นที่เศรษฐกิจ (โซน E) ออกเป็นพื้นที่
E๑ E๒ และ E๓ โดยไม่ค านึงถึงสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่าประชาชนท ากินมาก่อน ท าให้ประชาชน
บ้านตากแดดซึ่งถูกก าหนดโซนให้เป็น โซน E๑ ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ทั้งที่ขณะส่งมอบพื้นที่ให้น ามาด าเนินการปฏิรูปที่ดินมิได้ก าหนดเป็นโซนพื้นที่ดังกล่าวมีเพียงโซนพื้นที่
เศรษฐกิจ (โซน E) เท่านั้น
(๒) กรณีอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ประกาศเขตอุทยานทับที่ท ากินที่ราษฎรท าประโยชน์มาก่อน
พื้นที่อ าเภอเวียงสระ อ าเภอนาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยประชาชน
ถูกเจ้าหน้าที่ห้ามเข้าเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้รับผลกระทบหลังจากการประกาศอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ในปี
พ.ศ. ๒๕๓๔ ทับซ้อนกับที่ดินท ากินของประชาชน สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ปัญหาข้อขัดแย้ง ยังไม่สามารถ
หาข้อยุติแนวเขตร่วมกันของหน่วยงานได้ ประชาชน ถูกจับกุมด าเนินคดี และไม่สามารถท ากินได้ตามสิทธิ
ที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย และหน่วยงานของ
รัฐมิได้เร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนผู้เดือดร้อน
(๓) กรณีปัญหาการประกาศเขตอุทยานทับซ้อนกับแนวเขตพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนแนวเขต
พื้นที่หวงห้ามที่ทหาร พ.ศ. ๒๔๘๑ พื้นที่ต าบลนาสวนและด่านแม่แฉลบ อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด
กาญจนบุรี โดยปัญหาการทับซ้อนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์กับแนวเขตพื้นที่ที่เพิกถอน