Page 183 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 183
๑๕๖
ข้อมูลเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจก็เป็นของหน่วยงานทางภาครัฐ (๕) การมีส่วนร่วมในระดับข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งเป็นระดับต่ าสุดของการมีส่วนร่วม บทบาทของประชาชนจะน้อยมากเพราะรัฐจะเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล
กับประชาชนเพียงด้านเดียว และประชาชนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ตามการทราบข้อมูล
ข่าวสารก็มีความจ าเป็นต่อการมีส่วนร่วมในระดับที่สูงขึ้น เพราะถ้าประชาชนไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วน
การตัดสินใจที่สมเหตุสมผลคงไม่เกิดขึ้น
จากการศึกษาถึงสภาพการณ์ด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีประเด็นปัญหาส าคัญ
๖ ประการ ได้แก่ (๑) ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่เพียงในรูปแบบ (๒) ปัญหาประชาชนยังไม่
เข้าใจและขาดรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ท าให้ประชาชนเกิดความเป็นพลเมือง (Citizenship) การมีส่วนร่วม
ของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมากเป็นการมีส่วนร่วมแบบการรับทราบการ
ด าเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Inform) ซึ่งนับว่าเป็นการมีส่วนร่วมในระดับที่ต่ าเกือบจะ
ที่สุด (๓) ปัญหาจากมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เกื้อหนุนต่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (๔)
กฎหมายในปัจจุบัน เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการใช้รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพุทธศักราช ๒๕๕๐
ท าให้โครงสร้างไม่เกื้อหนุนให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้เลย (๕) ปัญหาการมีองค์กรที่ท างาน
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีจ านวนมากในเชิงปริมาณแต่ขาดคุณภาพ และ (๖)
กฎหมายด้านการมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ แยกออกจากกัน และ
แยกหน่วยงานในการดูแลรับผิดชอบ
ส าหรับการมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ มีการด าเนินงานที่แยก
ออกจากกัน โดยพบว่า ข้อมูลข่าวสารมีส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สังกัดส านัก
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ การกระจายอ านาจมีส านักงานคณะกรรมการกระจายอ านาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดส านักนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ภายใต้
การดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ก าหนดให้ด าเนินการ ส าหรับหน่วยงานอื่นๆ ที่ก าหนดไว้
เป็นเพียงการด าเนินการให้ครบองค์ประกอบเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น
ในด้านความส าคัญของการจัดท าแนวเขต สภาพปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินงานที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดท าแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ พบว่า การประกาศก าหนดให้เป็นที่ดินของรัฐแบ่งแยก
ออกตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายของรัฐได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) เป็นพื้นที่ที่รัฐมีวัตถุประสงค์ในการ
สงวนเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ ทั้งแก่รัฐและแก่ประชาชน และ (2) เป็นพื้นที่ที่รัฐมีวัตถุประสงค์
ในการสงวนเพื่อการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
จากที่กล่าวมาในการก าหนดแนวเขตที่ดินของประเทศไทย ให้เป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
ที่ส าคัญ ได้แก่ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยมีหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง หรือการก าหนดพื้นที่
อนุรักษ์ เช่น ก าหนดพื้นที่ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเขตอุทยาน
แห่งชาติ มีการก าหนดกระบวนงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานออกมาอย่างรัดกุมครบถ้วนแล้วก็ตาม หรือ
แม้แต่การก าหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นการให้สิทธิกับประชาชน ก็ล้วนแต่มีปัญหากระทบกับสิทธิในที่ดิน