Page 181 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 181

๑๕๔



               ให้บรรลุ ไม่ให้กระทบกับสิทธิในการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่แห่งนั้น ก่อนด าเนินการ

               ประกาศใช้เป็นกฎหมายบังคับ หรือต้องด าเนินการหาทางแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเสียก่อน
               เมื่อด าเนินการไปแล้วยังต้องดูแลรักษาพื้นที่เหล่านั้น เพื่อให้มีสภาพที่มั่นคงไม่เสียหายหรือเสื่อมสภาพไป

                       ในอดีตที่ผ่านมาประชากรในประเทศไทยมีจ านวนไม่มาก โดยพบว่า จ านวนประชากรในปี

               พ.ศ. ๒๔๕๓ มีประมาณ ๘.๑ ล้านคน ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ มีประมาณ ๒๖.๒ ล้านคน และปี พ.ศ. ๒๕๕๓
               มีประมาณ ๖๕.๙ ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจ านวนพื้นที่ที่ใช้ในการประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ซึ่งเป็น

               ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิของประชาชน จ านวน ๑๒๗ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔๐ ที่เหลืออีกร้อยละ ๖๐ เป็นที่ดิน
               ของรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์คุ้มครอง เพื่อกิจการของรัฐ กิจการสาธารณูปโภค พื้นที่

               สาธารณประโยชน์ และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันที่ดินในจ านวน ร้อยละ ๖๐ นี้ ได้จ าแนกและน ามาจัดสรรให้กับ
               ประชาชนใช้ประโยน์เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ จ านวนมากกว่า ๔๐ ล้านไร่ โดยในปัจจุบันจ านวน

               ประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส าหรับพื้นที่ของประเทศยังคงมีเท่าเดิม มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
               และสังคมให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้ง ยังมีการก าหนดนโยบายให้มีพื้นที่สงวน

               หวงห้ามไว้เพื่อป่าไม้ และรักษาสภาพแวดล้อมอีกไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ของประเทศ ผู้ที่
               ยากจนที่เคยดิ้นรนต่อสู้ถากถางที่ดินท ากินเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือพื้นที่ป่าไม้เดิมที่

               เคยสงวนหวงห้ามไว้ หรือมาสงวนหวงห้ามในภายหลัง เกิดปัญหากระทบกับสิทธิในที่ดิน ที่ตนเองถือครอง
               ท าประโยชน์อยู่ มีการเรียกร้องให้แก้ไข แต่ก็ไม่เกิดผลตอบรับจากรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการ

               ที่รับผิดชอบ เพียงแต่ปล่อยให้เวลาผ่านเลยไปให้รุ่นต่อไปเข้ามาแก้ไขปัญหาที่คงค้างหมักหมมต่อไป และ
               เพิ่มปัญหาให้มากขึ้นตามการเพิ่มของประชากร ทั้งที่เมื่อพิจารณาแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้

               โดยต้องน าสิทธิของประชาชนมาพิจารณาก่อน พร้อมกับการก าหนดให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียกับสิ่งที่
               ก าหนดนั้น เข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จะเป็นการสร้างให้เกิดการ

               ยอมรับไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิกันแต่อย่างใด ทั้งนี้  ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องให้ประชาชน
               มีความรู้หรือข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องและครบถ้วนเสียก่อน พร้อมกับให้มีการกระจายอ านาจ หรือ

               มอบอ านาจให้ด าเนินการ ให้กับชุมชนหรือหน่วยงานในภาคส่วนท้องถิ่น ต่อไป

                       ดังนั้น จากการที่คณะผู้วิจัยได้ท าการศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของ

               หน่วยงานหลักในการบริหารจัดการที่ดินโดยตรง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ซึ่งกฎหมาย
               ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการที่ดิน ที่มีการก าหนดขอบเขต

               โดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ส าคัญในการก าหนดแนวเขตกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชน
               ได้แก่  พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗ ของกรมที่ดิน  พระราชบัญญัติจัดที่ดิน

               เพื่อการครองชีพ พ.ศ.   2 5 1 1  ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
               พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.    2518 ของส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ

               เกษตรกรรม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
               ของกรมป่าไม้ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

               พ.ศ.  2535  ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.  2518
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186