Page 180 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 180
บทที่ 5
บทวิเคราะห์
จากกระแสพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะกรรมการ
จัดงาน “วันรพี” ณ พระต าหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๖ ความว่า
“... กฎหมายมีไว้ส าหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้ส าหรับบังคับ
ประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชน ก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้อง
บังคับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้ส าหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วย
ความสงบ บางทีเราตั้งกฎหมายขึ้นมาก็ด้วยวิชาการซึ่งได้จากต่างประเทศ เพราะว่าวิชาการกฎหมายนี้
ก็เป็นวิชาการที่กว้างขวาง จึงต้องมีอะไรท าอย่างหนึ่ง แต่วิชาการนั้นอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
หรือท้องที่ของเรา บางทีเคยยกตัวอย่างมาเกี่ยวข้องกับที่ดิน เกี่ยวข้องกับการท ามาหากินของประชาชน
ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งเราเอากฎหมายไปบังคับประชาชนเหล่านั้นไม่ได้ เพราะว่าเป็นความผิดของตนเอง
เพราะการปกครองไม่ถึงประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกล จึงไม่สามารถทราบถึงกฎหมาย ความบกพร่อง
ก็อยู่ที่ทางฝ่ายที่บังคับกฎหมายมากกว่าฝ่ายที่จะถูกบังคับ ข้อนี้ควรจะถือเป็นหลักเหมือนกัน ฉะนั้น
จะต้องหาวิธีที่จะปฏิบัติกฎหมาย ให้ถูกต้องตามหลักธรรมชาติ ...”
“... ในป่าสงวน ซึ่งทางราชการได้ขีดเส้นไว้ว่า เป็นป่าสงวนหรือป่าจ าแนก แต่ว่าเราขีดเส้นไว้
ประชาชนก็มีอยู่ในนั้นแล้ว เราจะเอากฎหมายป่าสงวน ไปบังคับคนที่อยู่ในป่าที่ยังไม่ได้สงวน แล้วเพิ่ง
ไปสงวนทีหลัง โดยขีดเส้นบนกระดาษก็ดูชอบกลอยู่ แต่มีปัญหาเกิดขึ้น ที่เมื่อขีดเส้นแล้ว ประชาชน
ที่อยู่ในนั้น ก็กลายเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมายไป ถ้าดูในทางกฎหมายเขาก็ฝ่าฝืน เพราะว่าตราเป็นกฎหมาย
โดยชอบธรรม แต่ว่าถ้าตามธรรมชาติ ใครเป็นผู้ท าผิดกฎหมาย ก็ผู้ที่ขีดเส้นป่านั่นเอง เพราะว่าบุคคล
ที่อยู่ในป่านั้นเขาอยู่ก่อน เขามีสิทธิในทางเป็นมนุษย์ หมายความว่า ทางราชการบุกรุกบุคคล ไม่ใช่
บุคคลบุกรุกกฎหมายบ้านเมือง …”
การที่คณะผู้ศึกษาวิจัยได้ยกพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นมาเกริ่นน าในบท
วิเคราะห์นี้ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการด าเนินงานด้านการจัดท าแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้าม
ของรัฐที่บัญญัติเป็นกฎหมาย ได้ตระหนักถึงความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้
ก าหนดในสิ่งต่างๆ ให้ประชาชนปฏิบัติ ได้ด าเนินการอย่างครบถ้วนในวิธีการที่ก าหนดแล้วหรือไม่ ได้มีการ
ส ารวจตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่นั้นอย่างครบถ้วน ให้ประชาชนที่ถือครองท าประโยชน์ในพื้นที่นั้นได้
เข้ามาแสดงความเห็นหรือให้มีส่วนร่วมในการก าหนดแนวเขตหรือไม่
การก าหนดแนวเขตของพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐได้ด าเนินการตามนโยบายในการรักษาพื้นที่
ของรัฐไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะและรักษาสภาพแวดล้อม แต่ในการด าเนินงานยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไข