Page 69 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 69

อย่างไรก็ตาม กรณีผู้เรียนจากการศึกษาโดยครอบครัว  ผู้เรียนจากการศึกษานอกโรงเรียน
                 (กศน.) ผู้เรียนจากการศึกษาทางเลือก และผู้เรียนจากการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ไม่ได้สมัครเป็นนักศึกษา

                 วิชาทหารในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อผู้เรียนเข้าเป็นนักศึกษาในชั้นปีที่ ๑ ของระดับอุดมศึกษา
                 ผู้เรียนสามารถสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหารได้  เนื่องจากเป็นการสมัครในโอกาสแรกที่มีสิทธิสมัคร

                 โดยเป็นไปตามข้อ ๑๖.๑ ของระเบียบหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ว่าด้วยการรับสมัครเป็นนักศึกษา
                 วิชาทหาร  และรายงานตัวเข้าฝึกวิชาทหาร  พ.ศ. ๒๕๕๕  ซึ่งในการสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๑

                 ผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน ๒๒ ปี และระหว่างการฝึกวิชาทหารต้องมีอายุไม่เกิน ๒๖ ปี  ตามกฎหมาย
                 ว่าด้วยการรับราชการทหาร กรณีจึงไม่ถือว่าเป็นการตัดสิทธิเด็ดขาดในการสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหาร

                           ส่วนกรณีคำาร้องที่ ๒๔๖/๒๕๕๕ เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่า ผู้ร้องที่ ๓ ได้
                 ยื่นฟ้องสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทาง

                 ปกครองละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร (ไม่ดำาเนินกรณี
                 นักเรียนบ้านเรียนเข้าศึกษาวิชาทหาร) ต่อศาลปกครองสงขลา ตามคดีหมายเลขดำาที่ ๓๗๑/๒๕๕๕

                 ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕  โดยศาลปกครองสงขลารับคำาฟ้องไว้พิจารณาแล้ว เมื่อวันที่
                 ๑๒ พฤศจิกายน๒๕๕๕  ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นประเด็นเดียวกันกับคำาร้องที่ผู้ร้องได้ร้องเรียนต่อ

                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสงขลา
                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่อาจใช้อำานาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขในเรื่อง

                 ร้องเรียนนี้ได้ ตามนัยมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และมิใช่

                 เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำาสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้คณะกรรมการ
                 มีอำานาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้”  คณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติ

                 เห็นควรยุติเรื่องร้องเรียนตามคำาร้องที่ ๒๔๖/๒๕๕๕

                           ประเด็นที่ ๗  การที่สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ (จังหวัดนนทบุรี) ยังไม่ได้

                 ดำาเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้ร้อง ทำาให้ผู้ร้องเสียสิทธิในการรับเงินอุดหนุนสำาหรับการจัดการ
                 ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือไม่ อย่างไร (ตามคำาร้องที่ ๑๖๒/๒๕๕๕)

                           สพฐ. ชี้แจงว่า กรณีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาโดยครอบครัวของผู้ร้องที่ ๒ สำานักงาน
                 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำาเนินการตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๙.๖/

                 ว ๑๒๖ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๘ โดยข้อเท็จจริงตามคำาร้อง ครอบครัวของผู้ร้องที่ ๒ ได้รับการ
                 เห็นชอบและอนุญาตให้จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ ๔ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่

                 การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ (จังหวัดนนทบุรี) เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และคณะกรรมการเขต
                 พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ (จังหวัดนนทบุรี) ได้อนุมัติการจบหลักสูตรช่วงชั้นที่ ๔ (มัธยมศึกษา

                 ปีที่ ๔–๖) ตามที่ครอบครัวของผู้ร้องที่ ๒ ได้ยื่นขอให้คณะกรรมการวัดและประเมินผล เมื่อวันที่ ๑๕
                 กันยายน ๒๕๕๔  และได้ออกเอกสารหลักฐานทางการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                 (ปพ.๒/ค) ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ โดยหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของผู้ร้องที่ ๒



            68

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74