Page 71 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 71

คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า  เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่า
                 นาย ส. (ผู้ร้องที่ ๔) ได้มอบอำานาจให้นาง ก. (ผู้ร้องที่ ๒) ยื่นฟ้องเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา

                 ขั้นพื้นฐาน กับพวก รวม ๓ คน เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ
                 เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฟ้องว่ามติที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปยื่นแผนการ

                 ศึกษาในพื้นที่การศึกษาอื่นและไม่ดำาเนินการพิจารณาการจัดการศึกษาให้ผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วย
                 กฎหมาย) ต่อศาลปกครองกลาง ตามคดีหมายเลขดำาที่ ๒๖๙๘/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๕

                 โดยศาลปกครองกลางรับคำาฟ้องไว้พิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕  ซึ่งกรณีดังกล่าว
                 เป็นประเด็นเดียวกันกับคำาร้องที่ผู้ร้องได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                 โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                 จึงไม่อาจใช้อำานาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขในเรื่องร้องเรียนนี้ได้ ตามนัยมาตรา ๒๒

                 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการ
                 กระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้อง

                 เป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำาสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้คณะกรรมการมีอำานาจตรวจสอบและ
                 เสนอมาตรการการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้”  คณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติเห็นควรยุติเรื่องร้องเรียน

                 ดังกล่าว

                       ๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                           คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่
                 ไม่เป็นธรรมจึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงศึกษาธิการ และ

                 สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อดำาเนินการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับมิติสิทธิและ
                 เสรีภาพของบุคคล สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                 ๒๕๕๐ มาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ และ
                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  ที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ.  ๒๕๕๓  มาตรา ๓๗

                 กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗  กฎกระทรวงกำาหนด
                 หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำานาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐  ปฏิญญาสากลว่าด้วย

                 สิทธิมนุษยชน ข้อ ๒๖  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๑๓
                 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๒๘  ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างครอบคลุมและรอบด้าน

                 และเพื่อให้สอดคล้องกับมิติด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
                           ๑.  กระทรวงศึกษาธิการ ควรมีการกำาหนดนโยบายในการพัฒนาด้านการจัดการศึกษา

                 โดยครอบครัวให้มีความชัดเจน เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยและเป็นอีก
                 ทางเลือกหนึ่งสำาหรับผู้ที่สนใจ  รวมทั้งควรมีการเชื่อมโยงการศึกษาทั้ง ๓ ระบบ คือ การศึกษาในระบบ

                 การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อเป็นการพัฒนา
                 ระบบการศึกษาตามอัธยาศัยของประเทศไทยให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป

                           ๒.  สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเร่งรัดในการจัดทำาคู่มือการดำาเนินงาน



            70

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76