Page 64 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 64

โดยครอบครัวให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดทำาข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย
                    ในการจัดการศึกษา การจัดทำาคู่มือ ชุดเอกสาร สื่อเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ

                    จัดการศึกษาโดยครอบครัวที่ตรงกัน และเป็นการพัฒนาความก้าวหน้าของการจัดการศึกษาโดย
                    ครอบครัว  การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน โดยมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

                    อย่างแพร่หลาย  ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและประชาชนให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
                    การพัฒนาองค์ความรู้และวิธีวิทยา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการศึกษาแก่บุคคล ครอบครัว

                    การเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ  เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและเป็นการพัฒนา
                    คุณภาพการศึกษา  รวมถึงการพัฒนาสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติ

                    การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  จึงถือว่า สพฐ. ได้ให้การสนับสนุนและให้ผู้ปกครองที่จัดการศึกษา
                    โดยครอบครัว สังคม และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ตามที่ได้

                    บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓
                    และกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗

                              แต่ที่ผ่านมา ครอบครัวบ้านเรียนยังคงประสบปัญหาในการประสานงานกับหน่วยงานกลาง
                    ซึ่งทำาหน้าที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการดำาเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เนื่องจากภาคีเครือข่ายครอบครัว

                    บ้านเรียนมีโอกาสร่วมบริหารและจัดการศึกษาโดยครอบครัวร่วมกับภาครัฐได้น้อย และการได้รับ
                    สิทธิประโยชน์และการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง การจัดทำาแผนการจัดการ

                    ศึกษาโดยครอบครัวยังไม่สามารถใช้กระบวนการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้ตามเป้าหมาย  รวมทั้ง
                    กระบวนการวัดและประเมินผลที่ไม่ตรงตามศักยภาพของผู้เรียนตามสภาพที่เป็นจริงและสอดคล้อง

                    กับหลักเกณฑ์การปรับใช้หลักสูตรแกนกลาง  ซึ่งในประเด็นนี้ สพฐ. ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาที่
                    เกิดขึ้น เนื่องจากการขาดนโยบายของ สพฐ. การขาดหน่วยรับผิดชอบโดยตรง การขาดข้อมูลในภาพรวม

                    การจัดการศึกษาโดยครอบครัว  การขาดความต่อเนื่องในการจัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา
                    เนื่องจากสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) มิได้มีอยู่ในทุกจังหวัด  การขาดบุคลากร

                    ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว การขาด
                    การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ฯลฯ  การขาด

                    ระบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับ
                    หลักการและปรัชญาการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมของการศึกษาโดยครอบครัวและการศึกษาทางเลือก

                    การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดย
                    ครอบครัว รวมถึงการศึกษาวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อสอดคล้องกับ

                    สถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องตามบริบทวิถีของครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น
                              ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. ควรให้ครอบครัวบ้านเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมใน

                    กระบวนการจัดการศึกษาโดยครอบครัวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่
                    แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓  และกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย

                    ครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้มากขึ้น โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน




                                                                                                          63

                                                          สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69