Page 66 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 66

ความสุขเป็นหลัก ฯลฯ  ทำาให้เป็นปัญหาในทางปฏิบัติในการรับจดทะเบียนจัดการศึกษา โดยในการ
                    แก้ไขปัญหาดังกล่าว  สพฐ. จะคำานึงถึงตัวเด็กเป็นสำาคัญ  ในส่วนของกฎระเบียบต่างๆ ก็มีความยืดหยุ่น

                    พอสมควร ซึ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่จะได้รับความร่วมมือจากครอบครัวบ้านเรียน
                    เป็นอย่างดี  ส่วนการวัดและประเมินผลได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นการวัดและประเมินผลในด้าน

                    วิชาการ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในระบบที่เป็นการวัดและประเมินผลเป็นแบบรายวิชา
                              คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า  แม้ สพฐ. ได้มีการดำาเนินการให้มีการจดทะเบียน

                    จัดการศึกษาโดยครอบครัวและการวัดและประเมินผล  แต่ สพฐ. ยังไม่มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุน
                    และให้ความคุ้มครองครอบครัวใหม่ที่ต้องการจดทะเบียนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว  รวมถึงการ

                    ได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐตามมาตรา ๑๓ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไข
                    เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓  และในส่วนของการวัด

                    และประเมินผล  สพฐ. จะต้องดำาเนินการให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                    พ.ศ. ๒๕๕๑  สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือการศึกษาทางเลือก แต่เนื่องจากการจัดการศึกษาโดย

                    ครอบครัวเป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  สพฐ. จึงควรคำานึงถึงการวัดและประเมินผลผู้เรียน
                    ตามสภาพที่เป็นจริงด้วย

                              ดังนั้น  สพฐ. จึงควรกำาหนดนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
                    และการดำาเนินการได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐโดยเท่าเทียมกัน  รวมทั้งการวัดและประเมินผลตามสภาพ

                    ที่เป็นจริง  ทั้งนี้ ต้องคำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนเป็นหลักซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
                    และเพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการศึกษาให้กับครอบครัวใหม่ที่สนใจได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมาย

                    กำาหนด

                              ประเด็นที่ ๕  สพฐ. มีการกำาหนดหลักเกณฑ์รับรองสิทธิการดำาเนินการขออนุญาตการจัด

                    การศึกษาโดยครอบครัว  และการจัดประเภทเพื่อให้ผู้เรียนจากการศึกษาโดยครอบครัวได้อยู่ในระบบ
                    ข้อมูลผู้เรียนในระบบการศึกษาของประเทศ  รวมทั้งมีการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาทั้ง ๓ ระบบ คือ

                    การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หรือไม่ อย่างไร (ตามคำาร้องที่
                    ๔๘๘/๒๕๕๔)

                              คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า  ตามมาตรา ๑๕ ของพระราชบัญญัติการศึกษา
                    แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ วางหลักไว้ว่า การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษา

                    นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
                    ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์

                    สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ ซึ่งในทางปฏิบัติแม้จะมีการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
                    แต่ สพฐ. ยังมิได้มีการกำาหนดหลักเกณฑ์รับรองสิทธิการดำาเนินการขออนุญาตการจัดการศึกษาโดย

                    ครอบครัว และการจัดประเภทเพื่อให้ผู้เรียนจากการศึกษาโดยครอบครัวได้อยู่ในระบบข้อมูลผู้เรียนใน
                    ระบบการศึกษาของประเทศ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาทั้ง ๓ ระบบ คือ การศึกษาในระบบ

                    การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย แต่อย่างใด



                                                                                                          65

                                                          สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71