Page 65 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 65
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่น ในการจัดการศึกษา และให้มีการกระจายอำานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา
สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดทำาคู่มือ
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการศึกษา
โดยครอบครัวอย่างแท้จริง จัดให้มีระบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสม
เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับหลักการและปรัชญาการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมของการศึกษา
โดยครอบครัวและการศึกษาทางเลือก และจัดให้มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
ของผู้เรียน เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องตามบริบทวิถีของครอบครัวและ
ชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ ควรเร่งดำาเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูล
เกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว และในกรณีที่ สพฐ. ได้ดำาเนินการแก้ไขปัญหาให้กับครอบครัว
บ้านเรียนทั้ง ๑๗ กรณี ที่ได้ดำาเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น สพฐ. ควรมีการติดตามและประเมินผล
อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนสิทธิทางศึกษาของเด็กตามที่รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง และพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ให้การรับรองและคุ้มครองไว้
ในส่วนประเด็นที่ผู้ร้องขอให้จัดตั้งผู้แทนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็น
ที่ปรึกษาในการทำางานร่วมกับคณะทำางานแก้ไขปัญหาของ สพฐ. นั้น คณะอนุกรรมการฯ พิจารณา
แล้วเห็นว่า สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน่วยงานที่ให้คำาปรึกษาและให้คำาแนะนำา
เบื้องต้นในการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ได้รับสิทธิในด้านต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ให้การรับรองและคุ้มครองไว้ ดังนั้น หากผู้ร้อง
มีประเด็นปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือ ผู้ร้องสามารถประสานงานกับสำานักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้โดยตรง
ประเด็นที่ ๔ สพฐ. มีการกำาหนดนโยบายส่งเสริมสนับสนุนและให้ความคุ้มครองในเรื่อง
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว ทั้งครอบครัวใหม่ที่ต้องการจดทะเบียนจัดการศึกษาโดยครอบครัว
การรักษาสิทธิในการขออนุญาตจดทะเบียนจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมแก่ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ
และการได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน การดำาเนินกระบวนการวัดและประเมินผลเพื่อ
ให้ตรงตามวุฒิภาวะและศักยภาพด้วยมาตรฐานการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริงและสอดคล้องกับ
หลักเกณฑ์การปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือไม่ อย่างไร (ตามคำาร้องที่
๔๘๘/๒๕๕๔)
ในประเด็นนี้ สพฐ. ชี้แจงว่า สพฐ. ได้มีการดำาเนินการให้มีการจดทะเบียนจัดการศึกษา
โดยครอบครัว แต่เนื่องจากการจัดการศึกษาโดยครอบครัว แต่ละครอบครัวได้คำานึงถึงการทำาให้เกิด
ความสุขในการเรียนและมีคุณภาพเชิงคุณธรรมความดี ซึ่งเป้าหมายของแต่ละครอบครัวมีความ
แตกต่างกัน เช่น บางครอบครัวไม่ต้องการให้บุตรหลานเข้าสู่ระบบที่ต้องมีการแข่งขันทางการศึกษา
หรือการประกอบอาชีพ บางครอบครัวใช้หลักทางพระพุทธศาสนาคือเน้นในเรื่องของความดีและ
64
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว