Page 61 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 61
ศูนย์เครือข่ายและศูนย์ปฏิบัติการการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ระดับเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้ง
มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวบ้านเรียนกับสำานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา และสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อประสานความเข้าใจ
และความร่วมมือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว การศึกษา วิจัย นิเทศ ติดตามและรายงานผล
การดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ ปัญหา อุปสรรค และ
ข้อเสนอแนะในการดำาเนินงาน ส่วนการดำาเนินงานระยะยาว ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำางาน
ดำาเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัวภายใต้คณะอนุกรรมการการจัดการศึกษาทางเลือกของ สพฐ.
และจัดให้มีหน่วยประสานงานกลางมีที่ตั้งอยู่ใน สพฐ. และหน่วยพัฒนาด้านวิชาการที่มีที่ตั้งอยู่
ที่สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและ
พัฒนาองค์ความรู้ตลอดจนรูปแบบในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดให้
มีหน่วยประสานงานในพื้นที่ระดับภูมิภาค หรือระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยคัดเลือกจากพื้นที่ที่มี
ความพร้อมและเหมาะสม รวมทั้งมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
เพื่ออำานวยความสะดวกและส่งเสริมให้จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า สพฐ. ได้มีการกำาหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาใน
ภาพรวมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของทั้งประเทศ และมีการจัดทำาแผนยุทธศาสตร์
ระยะเวลา ๓ ปี และได้มีการจัดทำาแผนพัฒนาการศึกษาโดยครอบครัวเป็น ๒ ระยะ โดยในระยะแรก
มีการจัดทำาคู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและการชี้แจงการใช้คู่มือ มีการจัดตั้ง
ศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว และในการดำาเนินงานระยะยาว จะมีการจัดตั้ง
คณะทำางานดำาเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัวภายใต้คณะอนุกรรมการการจัดการศึกษาทางเลือก
ของ สพฐ. และจัดให้มีหน่วยประสานงานกลางมีที่ตั้งอยู่ใน สพฐ. และหน่วยพัฒนาด้านวิชาการที่มีที่ตั้ง
อยู่ที่สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับตามมาตรา ๓๗ ของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ให้อำานาจกระทรวงศึกษาธิการในการจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัด
ในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อเป็นการเสริมการบริหารและการจัดการ
ของเขตพื้นที่การศึกษา และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๒ ที่ให้สิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยครอบครัว กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย
ครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ และตามกฎกระทรวงกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำานาจการบริหาร
และการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ให้อำานาจปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการ สพฐ. ในการ
พิจารณาดำาเนินการกระจายอำานาจการบริหารและการจัดการศึกษา ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ
ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำานาจหน้าที่ของตนแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ
ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๔๗ สพฐ. ยังมิได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงส่งผลให้
60
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว