Page 62 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 62

ครอบครัวบ้านเรียนที่ต้องการจดทะเบียนขออนุญาตจัดการศึกษาโดยครอบครัวพบกับปัญหาอุปสรรค
                    ในการใช้สิทธิในการจัดการศึกษาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่มีความ

                    เข้าใจในเรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัว  ทำาให้ไม่สามารถดำาเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์
                    ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๔๕  และ

                    ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓  และกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                    โดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป

                              ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. จึงควรจัดให้มีการทำาความเข้าใจร่วมกันระหว่าง
                    สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ครอบครัวบ้านเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง  โดยปรับ

                    ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน  และให้มีแนวทางในการปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทาง
                    เดียวกัน เร่งดำาเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ระยะเวลา ๓ ปี และแผนพัฒนาการศึกษาโดยครอบครัว

                    ทั้งในระยะเริ่มแรกและในระยะยาว รวมทั้งสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้มีประสิทธิภาพ
                    มากยิ่งขึ้น


                              ประเด็นที่ ๒  การดำาเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของ สพฐ. สอดคล้องกับ
                    มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๘๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                    ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๒๖  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
                    และวัฒนธรรม ข้อ ๑๓  และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๒๘ ที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการศึกษาที่รัฐ

                    ต้องจัดให้ หรือไม่ อย่างไร (ตามคำาร้องที่ ๔๘๘/๒๕๕๔)
                              คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า  สพฐ. ได้มอบหมายให้สำานักพัฒนานวัตกรรมการ

                    จัดการศึกษารับผิดชอบในเรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัว  ตั้งแต่เมื่อประมาณเดือนตุลาคม ๒๕๕๔
                    โดยสำานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจะอำานวยความสะดวกให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดการ

                    ศึกษามีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำาหนด โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม
                    ของครอบครัวบ้านเรียน การสร้างความเข้าใจร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การจัดทำาแผนการดำาเนินงานที่

                    ชัดเจน และการติดตามผลการดำาเนินการ เพื่อให้เกิดความสำาเร็จในการดำาเนินงาน ซึ่ง สพฐ. ได้ดำาเนินการ
                    เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

                    ๒๕๕๑  สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องใน
                    การจัดการศึกษามีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกัน  และเห็นแนวทางในการนำาสิ่งที่กำาหนดไว้ในหลักสูตร

                    แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของผู้เรียนตาม
                    กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสิทธิและเสรีภาพในการ

                    ศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๙ ที่วาง
                    หลักไว้ว่า  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง

                    ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษา
                    ทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและ

                    ส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ และมาตรา ๕๐ ที่วางหลักไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษา



                                                                                                          61

                                                          สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67