Page 63 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 63

อบรมและการเรียนการสอน ย่อมได้รับความคุ้มครอง  และมาตรา ๘๐ ที่กำาหนดว่ารัฐต้องดำาเนินการ
                 ตามแนวนโยบายด้านการศึกษา  (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและ

                 ทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  นอกจากนี้ เป็นไปตามปฏิญญา
                 สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๒๖ (๓) บิดามารดา มีสิทธิเบื้องแรกที่จะเลือกชนิดของการศึกษา

                 อันจะให้แก่บุตรของตน  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                 ข้อ ๑๓  ซึ่งการศึกษาจะต้องมุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำานึกในศักดิ์ศรีของ

                 ตนอย่างบริบูรณ์ ให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมเสรีอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ทุกคนมีสิทธิ
                 ได้รับ โดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยการนำาการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้

                 อย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยรัฐจะต้องเคารพเสรีภาพของบิดามารดาและผู้ปกครองตามกฎหมาย รวมทั้ง
                 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๒๘ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาให้แพร่หลายและเปิดกว้างแก่เด็กทุกคน

                 และดำาเนินมาตรการที่เหมาะสม  แต่ในการดำาเนินการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย
                 ครอบครัวของ สพฐ. เท่าที่ผ่านมา  ครอบครัวบ้านเรียนยังคงพบปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษาให้แก่

                 บุตรหลานของตน เนื่องจากยังไม่มีการสนับสนุนให้ครอบครัวบ้านเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ
                 ศึกษาโดยครอบครัวเท่าที่ควร ทำาให้ครอบครัวเสียสิทธิในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

                           ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. จึงควรให้ครอบครัวบ้านเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
                 การดำาเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว

                 บ้านเรียน  โดยการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง  การจัดทำาแผนการดำาเนินงานที่ชัดเจน
                 และการติดตามผลการดำาเนินการ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและเพื่อให้เกิดความ

                 สำาเร็จในการดำาเนินงานต่อไป

                           ประเด็นที่ ๓  ขั้นตอนการปฏิบัติงานของ สพฐ. ตั้งแต่การจัดทำาแผนการจัดการศึกษา การวัด

                 และประเมินผลของผู้เรียน การติดตามแก้ไขปัญหาในการวัดและประเมินผลของผู้เรียนจากการศึกษา
                 โดยครอบครัว รวมถึงการจัดทำาคู่มือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว  สพฐ. ได้ให้การสนับสนุนและให้

                 ผู้ปกครองที่จัดการศึกษาโดยครอบครัว สังคม และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการศึกษา
                 โดยครอบครัว ตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                 (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓  และกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
                 พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ อย่างไร (ตามคำาร้องที่ ๔๘๘/๒๕๕๔)

                           คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า สพฐ. ได้มีการกำาหนดเป้าหมายเพื่อการจัดทำา
                 แผนงานการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เช่น การกำาหนดนโยบายส่งเสริมการจัด

                 การศึกษาทางเลือกของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ฯลฯ  ตามมาตรา ๑๒ ของ
                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  โดยเน้นการกระจายอำานาจและการมีส่วนร่วม

                 การบริหารจัดการโครงสร้างการที่เป็นระบบแบบองค์รวม อำานวยประโยชน์ และความสำาเร็จของการ
                 จัดการศึกษาทางเลือกทุกรูปแบบในระยะต้นและระยะยาวจากส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

                 ตามมาตรา ๓๗ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  การจัดระบบข้อมูลการจัดการศึกษา



            62

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68