Page 28 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 28
ในโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยนั้น จากการประสานงานกับนักวิชาการศึกษาชำานาญการ
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพป. ภูเก็ต ได้รับแจ้งว่า เนื่องจากเด็กชาย ด. เข้าเรียนที่โรงเรียน
จุฬาภรณราชวิทยาลัยไม่ผ่าน ครอบครัวจึงขอจัดการศึกษาโดยครอบครัวแก่เด็กชาย ด.ในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นต่อไป
ความคืบหน้าในการจัดทำาคู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ซึ่งเดิม
การจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้มีการจัดทำาคู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
ฉบับแรกขึ้น ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขคู่มือฯ ฉบับดังกล่าว โดยการจัดทำาคู่มือฉบับปัจจุบันเมื่อ
ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้แทนของครอบครัวบ้านเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำาคู่มือฯ
โดยสำานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้พิจารณาแล้ว เนื่องจากมีบางส่วนที่ยังไม่สอดคล้อง
กับหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยขณะนี้การจัดทำาร่างคู่มือฯ อยู่ระหว่างการดำาเนินงานร่วมกับ
สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) ซึ่งก่อนที่จะมีการนำาไปปฏิบัติจะมีการประชาพิจารณ์
และทำาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยจากดำาเนินงานที่ผ่านมา
พบปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เช่น เจ้าหน้าที่สำานักงานพื้นที่
การศึกษาบางเขตอาจยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน การจัดทำาแผนการจัดการศึกษาที่ยังไม่ชัดเจน
เนื่องจากผู้จัดการศึกษาฯ กับเจ้าหน้าที่สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
การวัดและประเมินผลซึ่งต้องเป็นไปตามคุณภาพ โดยการประเมินผลแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ การ
ประเมินผลโดยผู้จัดการศึกษาฯ ซึ่งต้องมีการจดบันทึกไว้และศึกษานิเทศก์จะมีการตรวจสอบร่องรอย
หลักฐานการจัดการเรียนการสอน และอีกระดับหนึ่งเป็นการประเมินผลโดยสำานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาฯ ซึ่งเป็นการใช้ข้อสอบในระบบมาประเมินผลผู้เรียนแบบบ้านเรียน ซึ่งผู้จัดการศึกษาฯ
เห็นว่า กระบวนการวัดและประเมินผลที่ไม่ตรงตามวุฒิภาวะชั้นเรียนและศักยภาพของผู้เรียน รวมถึง
ปัญหาในการออกใบรับรองและเอกสารหลักฐานทางการศึกษา เป็นต้น
ในส่วนของหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑
กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยใช้กับต้นแบบโรงเรียนนำาร่องในปีการศึกษา ๒๕๕๒ และใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ
ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑–๖ โดยในส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้ใช้
กับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้ใช้กับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เป็นการประเมินผลในแต่ละปี ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ใช้กับ
สถานศึกษาทั่วประเทศและใช้กับทุกระบบการศึกษา คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมี ๖๗
มาตรฐาน ครอบคลุมทั้ง ๑๒ ปี (ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) เนื่องจาก
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑–๒๕๕๒ กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้จัดทำาหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยได้ดำาเนินการ
27
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว