Page 31 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 31

การบริหารจัดการที่เป็นระบบแบบองค์รวม อำานวยประโยชน์ และความสำาเร็จของการจัดการศึกษา
                 ทางเลือกทุกรูปแบบในระยะต้นและระยะยาว จากส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ตามมาตรา ๓๗

                 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                           ๓.  การขาดข้อมูล ภาพรวมการจัดการศึกษา  เป้าหมาย คือ มีระบบข้อมูลการจัดการ

                 ศึกษาโดยครอบครัวโดยรวมของสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ต่างๆ และส่วนกลางในการบริหาร
                 จัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                           ๔.  การขออนุญาตจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้น เนื่องจากสำานักงานเขตพื้นที่การ
                 ศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) มิได้มีอยู่ในทุกจังหวัด และจะขาดการต่อช่วงการจัดการศึกษาของครอบครัว

                 ที่จัดถึงจนจบระดับประถมศึกษาแล้ว จึงมีปัญหาการปรับตัวทั้งครอบครัวและเจ้าหน้าที่ สพม. เป้าหมาย
                 คือ ให้มีระเบียบปฏิบัติ เพิ่มการขออนุญาตการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในทุกระดับ (ชั้นประถมศึกษา

                 ปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) ที่สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้  รวมทั้งที่ศูนย์พัฒนา
                 วิชาการ ๑๒ แห่ง ในภูมิภาคและหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีข้อตกลงร่วมกับ สพฐ. ในการจัดการศึกษา

                           ๕.  บุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ
                 จัดการศึกษาโดยครอบครัว  ทำาให้เกิดความขัดข้องในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

                 เป้าหมาย คือ มีคู่มือ ชุดเอกสาร สื่อเรียนรู้ เพื่อความเข้าใจและเข้าถึงหลักการและกระบวนการจัดการ
                 ศึกษาโดยครอบครัวที่ตรงกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ทำาให้เกิดความราบรื่น และสำาเร็จผลในการ

                 ประสาน  อีกทั้งเป็นการพัฒนาความก้าวหน้าของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
                           ๖.  ขาดการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กร

                 เอกชน ฯลฯ
                               เป้าหมาย คือ

                               ๑) มีระบบการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในลักษณะของสังคมแห่ง
                                  การเรียนรู้ที่ผู้เรียนทุกประเภทสามารถเข้าถึงการเรียนรู้กับทุกแห่งที่ให้เป็นแหล่ง

                                  เรียนรู้ โดยมีหน้าที่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกประเภทได้อย่าง
                                  มีคุณภาพที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทางจิตวิทยาด้วย

                               ๒) มีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนา
                                  คุณภาพชีวิตของบุคคลและประชาชนที่เกิดขึ้นและมีผลิตภาพสูงขึ้น

                           ๗.  ขาดระบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมเป็น
                 ธรรมชาติ สอดคล้องกับหลักการและปรัชญาการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมของการศึกษาโดยครอบครัว

                 และการศึกษาทางเลือก
                               เป้าหมาย คือ

                               ๑) มีแหล่งพัฒนาองค์ความรู้และวิธีวิทยา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้และ
                                  การศึกษาแก่บุคคล ครอบครัว และองค์กรผู้จัดการศึกษาให้สามารถประเมินและ

                                  ประกันคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยตัวเองได้




            30

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36