Page 26 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 26
๒) ได้อนุญาตให้จัดการศึกษาต่อเนื่องในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔–๖ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑
ปีการศึกษา ๒๕๕๔ และรายงานให้สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทราบแล้ว
๑๔. นางสาว ว. อายุ ๑๖ ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เขตพื้นที่ : สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ (สพป. นครปฐม เขต ๑)
สภาพปัญหาและความต้องการ คือ สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ มีความล่าช้าในการ
อนุญาตแผนการจัดการศึกษาและการประเมินผล การจัดทำาแผนการจัดการศึกษาใช้กรอบสาระ
การเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ ความล่าช้าในการดำาเนินงานของสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ทำาให้เด็ก
เสียโอกาสในกรณีที่เด็กต้องการศึกษาต่อโรงเรียนในระบบ ซึ่งขณะนี้ ครอบครัวได้ผ่านเลยปัญหานี้
ไปแล้ว และต้องจัดการศึกษาโดยครอบครัวต่อไป หากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ อาจให้เรียนต่อใน
โรงเรียนในระบบ
ผลการแก้ไขปัญหา คือ สพป. นครปฐม เขต ๑ ได้ดำาเนินการ ดังนี้
๑) ประเมินผลช่วงชั้นที่ ๒ (มัธยมศึกษาปีที่ ๒) เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ขณะนี้เรียนอยู่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และมีความประสงค์ให้นักเรียนเข้าสอบ O–NET กับโรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์
สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ได้ประสานงานกับโรงเรียนในการเพิ่มชื่อนักเรียนในทะเบียนนักเรียนแล้ว
๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔–๖ นั้น
ผู้จัดการศึกษาฯ เห็นว่าจะต้องขออนุญาตไปยังสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙ ซึ่งไม่
สะดวกในการเดินทาง จึงได้เสนอว่าจะขออนุญาตจัดการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ สพป.
นครปฐม เขต ๑ หากไม่ได้อาจจะให้เรียนต่อในระบบ
๑๕. เด็กชาย น. อายุ ๑๓ ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เขตพื้นที่ : สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานนทบุรี เขต ๒ (สพป. นนทบุรี เขต ๒)
สภาพปัญหา คือ สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ได้อนุมัติแผนการจัดการศึกษาระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ครอบครัวได้ขอยกเลิกแผนการจัดการศึกษาระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๕ ด้วยเหตุผลที่ว่า แผนการจัดการศึกษาถูกกำาหนดจากสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ
(กรอบสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ) ซึ่งไม่เป็นไปตามความประสงค์ของครอบครัวที่คำานึงถึงศักยภาพ
ของผู้เรียนเป็นหลัก และวัดประเมินผลจากสภาพจริง โดยครอบครัวได้เสนอแผนการจัดการศึกษาระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕–๖ มาใหม่ ในทางปฏิบัติครอบครัวเห็นว่าสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษานำาวิธีการ
แบบโรงเรียนในระบบมาใช้กับครอบครัวอย่างเคร่งครัด ทั้งในเรื่องของแผนการจัดการศึกษาและวิธีการ
ประเมินผล ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความเครียดที่ต้องทำาแผนและประเมินผลในรูปแบบที่สำานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาฯ ต้องการ
ความต้องการ คือ ให้สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ เข้าใจเรื่องการจัดการศึกษาโดย
ครอบครัว และร่วมกันหาวิธีการทำางานร่วมกันระหว่างสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ กับครอบครัวด้วย
ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการประเมินผลตามสภาพจริง (ที่ไม่ใช้ข้อสอบในการวัดและประเมินผล)
ผลการแก้ไขปัญหา คือ สพป. นนทบุรี เขต ๒ ได้ผ่านความเห็นชอบแผนการจัดการศึกษา
25
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว