Page 47 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 47
๒ ประเภท คือ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำาคดี กับผู้บังคับบัญชาที่เป็นผู้แถลงข่าว ซึ่งในการนำา
ตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ กรณีที่สื่อมวลชนไปทำาข่าวในพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งหากประชาชนทราบข่าวจาก
สื่อมวลชนแล้วมามุงดูเป็นจำานวนมาก พนักงานสอบสวนก็ต้องให้การคุ้มครองความปลอดภัยให้กับ
ผู้ต้องหาเพราะหากผู้ต้องหาถูกทำาร้าย พนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งวัตถุประสงค์ของ
พนักงานสอบสวน คือ ต้องการรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ศาลเชื่อว่า ผู้กระทำาความผิด
เป็นคนร้ายในคดีโดยไม่ต้องการให้เป็นข่าว ซึ่งการนำาชี้ที่เกิดเหตุเป็นสิทธิของผู้ต้องหา หากผู้ต้องหา
ให้การปฏิเสธและขอให้การในชั้นศาล หรือกรณีที่ผู้ต้องหารับสารภาพแต่ไม่ต้องการนำาชี้ที่เกิดเหตุ ก็เป็น
สิทธิของผู้ต้องหาที่สามารถกระทำาได้ ส่วนการนำาเสนอข่าวในบางครั้งก็เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ซึ่งต้องพิจารณาในแต่ละกรณี
๒. การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน คือ ให้รวบรวมพยานหลักฐาน
ทุกชนิดที่พิสูจน์ได้ว่าจำาเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ โดยในการรวบรวมพยานหลักฐานพนักงานสอบสวนจะ
ไม่บอกให้สื่อมวลชนทราบ แต่ในบางกรณีผู้บังคับบัญชาจะบอกให้พนักงานสอบสวนนำาตัวผู้ต้องหา
ไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และมีสื่อมวลชนจะตามไปในที่เกิดเหตุเอง
๓.๔ บทความเรื่อง “ข้อพิจารณาเรื่องแผนประทุษกรรม” โดยผู้พิพากษาศาลยุติธรรม จาก
วารสารอัยการ เดือนธันวาคม ๒๕๓๕ สรุปได้ ดังนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา จะไม่มีกฎหมายหรือหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้มีการทำาแผน
ประทุษกรรมในลักษณะผู้ต้องหานำาชี้ที่เกิดเหตุ หรือให้แสดงลักษณะท่าทางรายละเอียดของการ
กระทำาความผิดแต่อย่างใด หากจะมีก็แต่เฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการชี้ตัวผู้ต้องหาเพื่อให้พยาน
หลักฐานที่น่าเชื่อว่าผู้ต้องหานั้นคือคนร้ายจริง และส่วนใหญ่จะมองกันในแง่มุมของปัญหาว่า การที่
เจ้าพนักงานตำารวจกำาหนดให้ผู้ต้องหาหรือบุคคลใดส่งลายนิ้วมือ ถ่ายภาพ ให้เขียน ให้พูด ในการ
ชี้ตัวให้มาศาล ให้ยืนแสดงตน ให้สมมุติการวางท่าทาง ให้เดิน หรือให้ทำากิริยาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการที่จะไม่ถูกบังคับให้ต้องให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง ฯลฯ
๓.๕ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การทำาแผนประทุษกรรมประกอบคำารับสารภาพในระบบกฎหมายไทย”
โดยนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปได้ ดังนี้
ประเทศอังกฤษมีการจัดให้มีการจัดทำาแผนประทุษกรรมประกอบคำารับสารภาพนอกสถานที่
แต่เฉพาะในกรณีที่มีความจำาเป็นและผู้ต้องหายินยอมเท่านั้น และหากการทำาแผนประทุษกรรม
ประกอบคำารับสารภาพเกิดขึ้นโดยมิชอบจะส่งผลให้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ โดยศาล
จะใช้ดุลพินิจตัดพยานหลักฐานที่จำาเป็นต่อการรักษาและปกป้องสิทธิที่สำาคัญของผู้ต้องหาออกไป
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาคดี ทั้งนี้ โดยคำานึงถึงความปลอดภัย และการกระทำาใน
ลักษณะการประจานเป็นหลัก และหากมีการกระทำาอื่นใดที่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิก
ลักษณะหรือความประพฤติของผู้ต้องหา อันอาจมีผลต่อการครอบงำาการตัดสินคดีของคณะลูกขุน
และอาจทำาให้เกิดอคติต่อผู้ต้องหา เป็นผลให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมในการพิจารณาคดีทั้งในชั้น
46
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน