Page 43 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 43

“เพื่อประโยชน์แห่งคดี” นั้น  ไม่อาจไปลบล้างสิทธิของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองและ
                 รับรองไว้

                               กล่าวโดยสรุป คือ
                               ๑.  ต้องเคารพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องทำาหน้าที่ในการบำาบัดทุกข์

                 บำารุงสุขของประชาชน และประสิทธิภาพในการจับกุมผู้กระทำาผิด  โดยในการจัดทำาแผนประทุษกรรม
                 จะทำาอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่

                 ส่วนตัว  ทั้งนี้ จะต้องรวมถึงการคำานึงสิทธิของผู้เสียหายด้วย
                               ๒.  ในส่วนของสื่อมวลชน  เนื่องจากสื่อมวลชนของประเทศไทยไม่มีองค์กรวิชาชีพ

                 ในการให้คุณประโยชน์หรือการลงโทษ  ดังนั้น สื่อมวลชนจึงต้องมีการพูดคุยในเรื่องของวิชาชีพและ
                 ขอบเขตในการปฏิบัติงานซึ่งต้องตระหนักและคำานึงถึงการเคารพสิทธิส่วนบุคคล


                               ในส่วนของประเด็นสิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ  กรณีที่เกิดอาชญากรรมขึ้น
                 ประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนควรจะรู้ คือ ข้อเท็จจริงในการกระทำาความผิด  แต่มิใช่การนำาเสนอ

                 ชื่อ–นามสกุล ของผู้กระทำาผิด ซึ่งสิทธิส่วนบุคคลไม่อาจทดแทนด้วยประโยชน์สาธารณะ การรายงาน
                 ข้อเท็จจริงเพื่อให้สังคมได้รับรู้และตระหนักและเป็นการเตือนภัยให้สังคมเกิดความระมัดระวัง ซึ่งต้อง

                 ทำาให้เกิดความสมดุลในเรื่องของการรับรู้ของสังคมกับการเคารพสิทธิส่วนบุคคล  ทั้งนี้ ควรมีการ
                 จัดทำาแนวทางการดำาเนินงานและการกำาหนดขอบเขตว่า เรื่องใดควรที่จะทำาแผนประทุษกรรม ซึ่งใน

                 บางเรื่องไม่จำาเป็นที่จะต้องทำา  และหากจะต้องทำาแผนประทุษกรรมจะทำาอย่างไรเพื่อให้ได้พยาน
                 หลักฐานครอบคลุมครบถ้วน  โดยในการแถลงข่าวไม่จำาเป็นที่จะต้องเอาตัวผู้ต้องหามาเป็นส่วนสำาคัญ

                 และไม่ควรเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจบางคน เนื่องจากไม่ได้เป็นประโยชน์
                 ต่อกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานในการดำาเนินคดี  แต่หากเป็นการแถลงข่าวในภาพรวมเพื่อ

                 ให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำางานของหน่วยงานก็เป็นสิ่งควรทำา ซึ่งการให้ข่าวควรมีการปกปิดชื่อ–
                 นามสกุล และควรนำาเสนอภาพที่ไม่ทำาให้รู้ว่าเป็นใคร เช่น อาจมีการใส่หมวกโม่งคลุมใบหน้า เป็นต้น


                               ผู้แทนสื่อมวลชน ได้แสดงความคิดเห็น สรุปได้ ดังนี้

                               จากหัวข้อการสัมมนาสามารถแยกผู้ต้องหาได้ออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
                               ๑.  ผู้ต้องหาในคดีอาญา
                               ๒.  ผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิ  ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำารวจ

                 สื่อมวลชน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม


                               ทั้งนี้ ได้ให้ข้อสังเกตว่า  ควรมีการพิจารณาในมุมที่กว้าง เช่น เรื่องของสิทธิของ
                 ผู้เสียหาย สิทธิของโจทก์ สิทธิของสังคม สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน สิทธิของผู้ต้องหา

                 ที่ควรได้รับการคุ้มครอง และหน้าที่ของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวหรือรายงานความเป็นจริงที่
                 เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้  โดยจะทำาอย่างไรเพื่อให้เกิดความสมดุลและเกิดความพอดีสมควร ซึ่งต้อง

                 คำานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์สาธารณะ



            42

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48