Page 46 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 46
กระทบสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับเพศกรณีของผู้ที่ถูกข่มขืนกระทำาชำาเรา
ดังตัวอย่างเช่น กรณีที่เกิดขึ้นในภาคเหนือโดยแฟนของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งพาไปเที่ยวแล้ว เพื่อนของ
ผู้ชายที่เป็นแฟนประมาณ ๔–๕ คน เข้ามารุมโทรม ซึ่งหากมีการให้ข่าวโดยไม่ปกปิดชื่อของผู้เสียหาย
ก็จะทำาให้ผู้เสียหายรายนี้ได้รับผลกระทบไม่กล้าเข้าสังคมเพราะเกิดความอับอาย ส่วนผู้ต้องหา
เนื่องจากมีอายุต่ำากว่า ๑๘ ปี ซึ่งกรณีที่เด็กเป็นผู้กระทำาความผิด มีกฎหมายที่ให้การคุ้มครองโดย
ไม่ถือว่าเด็กเป็นอาชญากร และให้มีการแก้ไขเยียวยา รวมทั้งต้องมีการปกปิดชื่อของเด็กที่กระทำา
ความผิดด้วย ซึ่งการนำาตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กไปให้ข่าวก็เป็นการกระทำาที่ผิดกฎหมายที่ให้การ
คุ้มครองเด็ก โดยการให้ข่าวจะต้องอยู่ในกรอบเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน การแถลงข่าว
ต่อสื่อมวลชนไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการดำาเนินคดีและไม่ได้นำามาใช้เป็นหลักฐานในการดำาเนินคดี
แต่เป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจบางคน ซึ่งหากมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
โดยให้ข้อมูลในคดีที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรีซึ่งเป็นเรื่องที่มีความผิดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำารวจ
ก็จะต้องมีการดำาเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำาผิดดังกล่าว ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำารวจไม่ดำาเนินการก็จะมี
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือ
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง
สองหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ” ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นเตือนเพื่อทุกฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้เข้�ร่วมก�รสัมมน�ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น สรุปได้ ดังนี้
๑. กฎหมายในปัจจุบันให้สิทธิผู้ต้องหามาก กรณีที่ผู้ต้องหาปฏิเสธหรือไม่สมัครใจ
ที่จะไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำารวจไม่สามารถบังคับให้ผู้ต้องหารายนั้นไปทำาแผนประทุษกรรมหรือ
นำาชี้ที่เกิดเหตุได้ ซึ่งในบางคดีที่ไม่มีประจักษ์พยานโดยมีแต่เพียงคำารับสารภาพ เจ้าหน้าที่ตำารวจก็มี
ความจำาเป็นที่จะต้องนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ โดยมีกรณีตัวอย่าง คือ คดีฆ่าข่มขืน โดยผู้ต้องหา
รู้จักกับเหยื่อซึ่งพักอาศัยอยู่ห้องใกล้เคียงกัน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำารวจเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุปรากฏว่า
ผู้ต้องหาหลบหนีไปแล้ว เจ้าหน้าที่ตำารวจจึงได้ขออำานาจศาลในการออกหมายจับ ต่อมา เมื่อจับกุม
ตัวผู้ต้องหาได้ซึ่งผู้ต้องหารับสารภาพ แต่เนื่องจากไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำา
ความผิด จึงต้องนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เพื่อให้ได้พยานหลักฐาน
เพียงพอให้ศาลเชื่อว่า ผู้ต้องหาหรือจำาเลยเป็นผู้กระทำาความผิด และอีกกรณีหนึ่ง ผู้ต้องหาเป็น
ชาวต่างชาติข่มขืนกระทำาชำาเราแล้วฆ่าเหยื่อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำารวจมีเพียงภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
ที่เห็นใบหูของผู้ต้องหา และจากการสอบถามพยานแวดล้อมจึงได้ข้อมูลเบื้องต้น เจ้าหน้าที่จึงได้ขอ
อำานาจศาลในการออกหมายค้นและได้เข้าตรวจค้นภายในห้องพักของผู้ต้องหาโดยพบโทรศัพท์มือถือ
ของเหยื่อและรอยนิ้วมือแฝงของผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธจึงไม่ได้มีการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้
ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ
ในการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ สื่อมวลชนและ
เจ้าหน้าที่ตำารวจมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่ละเมิดสิทธิผู้ต้องหา ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำารวจจะมี
45
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน