Page 42 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 42
เป็นการกำาหนดขอบเขตและความสัมพันธ์ของรัฐที่จะกระทำาต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องหาว่าจะสามารถ
กระทำาได้มากน้อยเพียงใด
๒. สิทธิที่มีไม่เหมือนบุคคลทั่วไป เช่น การถูกคุมขัง เสรีภาพในการเดินทาง เป็นต้น
โดยผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังมีสถานะที่ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป
๓. สิทธิที่ยังคงมีเหมือนคนทั่วไปซึ่งจะถูกล่วงละเมิดสิทธิไม่ได้ เช่น สิทธิในชีวิตและ
ร่างกาย สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง ฯลฯ
แผนประทุษกรรมได้มีการนำามาใช้ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำารวจได้เรียนรู้กระบวนการ วิธีการ และขั้นตอนต่างๆ ของผู้กระทำาความผิด แต่ใน
ปัจจุบันการทำาแผนประทุษกรรมเป็นไปเพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาปฏิเสธในภายหลัง หากมองว่าเป็น
ความจำาเป็นของกระบวนการยุติธรรม และการทำาแผนประทุษกรรมทำาให้เกิดประสิทธิภาพในการ
รวบรวมพยานหลักฐานของกระบวนการยุติธรรม ก็สามารถยอมรับได้ แต่ประเด็นคือการทำาแผน
ประทุษกรรมอย่างไรที่จะไม่กระทบต่อสิทธิเกินสมควร โดยในส่วนของคดีอาญาที่เป็นความสัมพันธ์
ระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล ซึ่งรัฐมีอำานาจเหนือปัจเจกบุคคล แต่การกระทำาของรัฐจะไปก้าวล่วงจน
เกินสมควรแก่เหตุไม่ได้ ที่จะนำาไปสู่การที่ผู้ต้องหาถูกทำาร้ายร่างกาย หรือการที่สังคมพิพากษาว่า
เขาเป็นผู้กระทำาผิด ซึ่งเป็นการทำาให้ผู้ต้องหาถูกกระทบสิทธิ โดยประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องสามารถที่
หลีกเลี่ยงได้ในการที่จะทำาให้การสืบสวนมีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่เจ้าหน้าที่ตำารวจจะนำาตัวผู้ต้องหาไป
ทำาแผนประทุษกรรมนั้น ไม่ควรที่จะให้สาธารณชนทราบในเรื่องของวัน เวลา และสถานที่ เพื่อป้องกัน
มิให้เกิดการทำาร้ายร่างกายผู้ต้องหาจากญาติพี่น้องของผู้เสียหายหรือประชาชนที่มามุงดู ในส่วนของ
ผู้ต้องหากับสื่อมวลชน ซึ่งทั้งผู้ต้องหาและสื่อมวลชนต่างก็มีสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ โดย
ผู้ต้องหามีสิทธิตามมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในเรื่องของ
เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว ส่วนสื่อมวลชนก็มีเสรีภาพในการเสนอข่าว ซึ่งต่างคน
ต่างอ้างสิทธิของตนเอง โดยหลักของรัฐธรรมนูญหากสิทธิและเสรีภาพในส่วนที่มีความขัดแย้งกัน
จะต้องพิจารณาในเรื่องของสิทธิที่มีเงื่อนไขและสิทธิที่ไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเสรีภาพของสื่อมวลชนในการ
นำาเสนอข่าวจะไปกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลมิได้ ซึ่งเป็น
ข้อจำากัดในการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน ในขณะเดียวกันสิทธิส่วนบุคคลเป็นสิทธิที่ไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น
การใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำาเสนอข่าวจะต้องไม่ไปกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล เกียรติยศ
ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว โดยสื่อมวลชนสามารถรายงานเหตุการณ์เพื่อให้สังคมได้
ตระหนักถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
หากพิจารณาจากคำาสั่งสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ที่ ๔๖๕/๒๕๕๐ เรื่อง การปฏิบัติ
เกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน และการจัดทำาสื่อ
ประชาสัมพันธ์ (แก้ไขเพิ่มเติม) ข้อ ๒.๓ ห้ามอนุญาตหรือจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนงถ่ายภาพ สัมภาษณ์
หรือให้ข่าวของผู้ต้องหาและเหยื่ออาชญากรรม เว้นแต่พนักงานสอบสวนดำาเนินการเพื่อประโยชน์
แห่งคดี หรือได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหาย ซึ่งในเรื่องของคำาว่า
41
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน