Page 51 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 51

๔.๓ ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี
                           ๑) ลักษณะที่ ๘ บทที่ ๙ ก�รทำ�แผนที่และถ่�ยรูปสถ�นที่เกิดเหตุ

                           ข้อ ๒๖๕ โดยปกติการทำาแผนที่สถานที่เกิดเหตุ เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจะพิจารณา

                 ตามแต่ความจำาเป็นในคดี  เพื่อเป็นรากฐานแสดงความเข้าใจสถานที่  และเป็นประโยชน์แก่คดีนั้นๆ
                 คดีดังต่อไปนี้  จำาต้องทำาแผนที่สังเขป แสดงสถานที่เกิดเหตุประกอบการสอบสวนแนบสำานวนเสนอ
                 ทุกคดี คือ

                           (๑)  คดีอุกฉกรรจ์

                           (๒)  คดียวดยานพาหนะโดนบุคคลหรือทรัพย์ในถนนหลวง
                           (๓)  คดีบุกรุกที่ดิน

                           ข้อ ๒๖๖  การทำาแผนที่เกิดเหตุประกอบสำานวนการสอบสวนนั้น  พนักงานสอบสวนจะต้อง

                 จัดให้ผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา หรือพยานซึ่งเป็นผู้นำาชี้สถานที่เกิดเหตุนั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้ในแผนที่
                 เกิดเหตุนั้นด้วยทุกราย  ทั้งนี้ เพื่อให้แผนที่เกิดเหตุนั้นมีน้ำาหนักฟังเป็นหลักฐานได้มั่นคงยิ่งขึ้น และ

                 ป้องกันมิให้บุคคลผู้นำาชี้สถานที่เกิดเหตุนั้นแย้งคัดค้านแผนที่เกิดเหตุในชั้นศาลอันจะทำาให้เสียหายแก่
                 รูปคดีได้ด้วย

                           ข้อ ๒๖๗  แผนที่นี้ต้องแสดงทิศทางการเข้าออกของบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับคดีนั้น  รวมทั้ง
                 เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ตลอดจนทางหลบหนีของผู้กระทำาผิด ความเคลื่อนไหวของผู้กระทำาความผิด

                 ในขณะก่อนหรือหลังการกระทำาความผิดและอื่นๆ เท่าที่จำาเป็นเพื่อประโยชน์ในการที่จะให้ข้อเท็จจริง
                 ต่างๆ แจ่มกระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น

                           ข้อ ๒๖๘  นอกจากจะจัดทำาแผนที่เกิดเหตุสังเขปขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนควรจัดให้มีการ
                 ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและร่องรอยต่างๆ ประกอบเข้าไว้ในสำานวน เพื่อประโยชน์ในคดีอีกชั้นหนึ่งด้วย

                           ท้องที่ที่เกิดเหตุ พนักงานสอบสวนเห็นว่า  ถ้าได้จัดการตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำา
                 หลักฐานการพิสูจน์ไว้โดยอาศัยวิทยาการตำารวจเข้าช่วยเหลือแล้ว จะทำาให้การพิสูจน์ความผิดแน่นอน

                 ยิ่งขึ้น ให้ทำาการติดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่วิทยาการตำารวจไปถ่ายรูป และตรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย
                 และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กองวิทยาการที่จะทำาการถ่ายรูป และตรวจสถานที่เกิดเหตุตามหลัก

                 วิชาการแล้วให้ส่งรูปถ่ายและหลักฐานต่างๆ ที่ตรวจพบไปให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีพร้อมด้วย
                 หนังสือนำาส่งเป็นหลักฐาน


                           ๒) ลักษณะที่ ๓๐ ข้อ ๑ (ค) ห้�มมิให้ผู้มีหน้�ที่ในก�รให้สัมภ�ษณ์หรือแถลงข่�วให้ข่�ว ดังต่อไปนี้
                           ข้อ ๔  คดีที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนยังไม่เสร็จ เช่น แนวการสืบสวน สอบสวน

                 การจับกุม ตรวจค้น และการรวบรวมพยานหลักฐาน  เป็นต้น
                           ข้อ ๕  เหตุการณ์หรือเรื่องราวซึ่งถ้าหากเปิดเผยต่อประชาชน อาจเป็นแบบที่บุคคลอื่นจะ

                 ถือเอาเป็นตัวอย่างในการกระทำาขึ้นอีก เช่น แผนประทุษกรรมต่างๆ ของคนร้าย หรือวิธีการที่แสดงถึง
                 การฉ้อโกง การกระทำาอัตวินิบาตกรรม และวิธีการอันชั่วร้ายอื่นๆ





            50

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56