Page 44 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 44

สื่อมวลชนมองว่าสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิมนุษยชนก็ต้องเคารพ แต่ในขณะเดียวกัน
                    สื่อมวลชนก็ทำาหน้าที่ติดตามตรวจสอบ ควบคุม การดำาเนินงานตามกลไกของรัฐ ซึ่งต้องมีการนำาเสนอ

                    โดยการพิจารณาในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ  ทำาอย่างไรจึงจะให้เกิดคำานิยามและ
                    ความชัดเจนโดยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  ซึ่งยังไม่มีการกำาหนดคำานิยามหรือหลักเกณฑ์ในการ

                    พิจารณา  แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของแต่ละบุคคลที่มีมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งหากมีการกำาหนด
                    คำานิยามในเรื่องของประโยชน์สาธารณะที่ชัดเจน ก็จะทำาให้การวางแนวทางในการปฏิบัติมีความชัดเจน

                    มากยิ่งขึ้น  โดยทั่วไป ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำารวจนำาตัวไปทำาแผนประทุษกรรมได้
                    แต่ในความเป็นจริงนั้น ผู้ต้องหายากที่จะปฏิเสธและยอมจำานน ซึ่งควรมีกลไกกระบวนการที่ให้ผู้ต้องหา

                    มีอิสระและสามารถปฏิเสธเพื่อป้องมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                                  การที่สื่อมวลชนรายงานข่าวก็อาจเป็นประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่อีก

                    ด้านหนึ่ง การที่สื่อมวลชนไม่รายงานข่าวก็อาจเป็นประเด็นว่า ไม่ทำาหน้าที่หรือขาดความรับผิดชอบ
                    ในการทำาหน้าที่ของสื่อมวลชนหรือไม่  ซึ่งต้องร่วมกันหาแนวทางในการดำาเนินงานที่เหมาะสมและ

                    หน่วยงานใดควรที่จะเป็นมีส่วนในการควบคุมการดำาเนินงานของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความพอดี
                    สมควร

                                  อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย คือ การที่เจ้าหน้าที่ตำารวจเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน
                    ซักถามได้เต็มที่  ซึ่งในบางกรณีสื่อมวลชนอาจทำาหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีการใช้

                    คำาถามที่มากจนเกินไป  โดยเห็นควรเสนอให้มีการเร่งรัดออกกฎหมายในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติ
                    คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และร่าง

                    พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ....
                    ซึ่งในส่วนของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมฯ  ซึ่งกลุ่มสื่อมวลชนมีความเห็น

                    ที่แตกต่างกัน  โดยทางหนึ่งมีความเห็นว่า  กฎหมายฉบับนี้เป็นการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพในการ
                    ปฏิบัติงานของสื่อมวลชน  แต่อีกทางหนึ่งมีความเห็นว่า เป็นการทำาให้สื่อมวลชนเข้าไปอยู่ในกลไก

                    ของรัฐโดยมีคณะกรรมการควบคุมการทำางานของสื่อมวลชน  ซึ่งเป็นการจำากัดเสรีภาพในการนำาเสนอ
                    ข้อมูลข่าวสารหรือไม่ อย่างไร  โดยยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่ขณะนี้  จึงทำาให้ยังไม่มีการประกาศใช้

                    กฎหมายฉบับนี้
                                  การเสนอแนวทางในการปฏิบัติของสื่อมวลชน  โดยลดระดับการให้ความสำาคัญใน

                    การนำาเสนอข่าวอาชญากรรมหรือการทำาแผนประทุษกรรม หรือการแถลงผลงานการจับกุมให้น้อยลง
                    ซึ่งจะทำาให้สิทธิของผู้ต้องหาได้รับการคุ้มครองมากขึ้น  และหากกลไกการควบคุมกันเองของสื่อมวลชน

                    มีความเข้มแข็ง  โดยมีการกำาหนดแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน หรือมีการจัดทำาคู่มือการ
                    รายงานข่าว ก็จะช่วยให้เกิดการเคารพสิทธิของผู้ต้องหามากขึ้น  โดยทุกฝ่ายควรมีการหารือร่วมกัน

                    ทั้งนี้ ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนไม่ได้ทำาหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ  โดยสื่อมวลชนทำาหน้าที่ในการ
                    ตรวจสอบติดตามการดำาเนินงานของรัฐให้มีความโปร่งใส  ในส่วนนี้มีความเห็นว่าทำาอย่างไรจึงจะให้เกิด

                    ความพอดี




                                                                                                         43

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49