Page 41 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 41
เจ้าหน้าที่ตำารวจกลับปฏิเสธว่าไม่ได้แจ้งข้อมูลไปยังสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนสืบค้นหาข้อมูลทราบ
ข่าวเอง ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่การแถลงข่าวในคดีใหญ่ๆ ที่โด่งดัง จะเป็นเจ้าหน้าที่ตำารวจที่เป็นผู้บังคับ
บัญชาจะเป็นผู้ให้ข่าว
อาชีพสื่อมวลชนมีความแตกต่างจากอาชีพทนายความ เนื่องจากทนายความจะต้อง
สอบเพื่อขอรับใบอนุญาต แต่สื่อมวลชนไม่ต้องสอบหรือไม่ต้องมีใบอนุญาต ซึ่งใครจะทำาหน้าที่สื่อมวลชน
ก็ได้ แต่มีข้อสังเกตว่า หากเป็นบุคคลที่เรียนมาในสาขานิเทศศาสตร์หรือทางด้านสื่อสารมวลชนจะ
ได้รับการสั่งสอนอบรมในเรื่องของจรรยาบรรณ สิทธิและเสรีภาพ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนน้อย โดยในการทำางานของสื่อมวลชนจะต้องใช้หลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
แล้วสื่อมวลชนจะเข้าใจและได้รับคำาตอบว่าจะต้องนำาเสนอข่าวในรูปแบบใด อย่างไร
ส่วนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ
สื่อมวลชน พ.ศ. .... ในอดีตที่ผ่านมาสื่อมวลชนเคยได้รับผลกระทบจากอำานาจของรัฐที่เข้าไปแทรกแซง
กระบวนการของสื่อมวลชน จนทำาให้สื่อมวลชนขาดอิสระ ไม่สามารถนำาเสนอข้อมูลได้ ทำาให้สื่อมวลชน
บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายในลักษณะนี้ ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอยู่ในสังคม
ผู้แทนนักวิช�ก�ร ได้แสดงความคิดเห็น สรุปได้ ดังนี้
การตั้งชื่อการสัมมนาในวันนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ความระมัดระวัง
เป็นอย่างมาก โดยตั้งโจทย์ว่า ทำาอย่างไรที่จะต้องเคารพต่อสิทธิของบุคคล และในขณะเดียวกันจะต้อง
ไม่กระทบกับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมในการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ในการ
นำาตัวผู้กระทำาผิดมาลงโทษ
โดยหลักพื้นฐานของความสัมพันธ์สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ คดีอาญา
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล และส่วนที่ ๒ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องหากับ
สื่อมวลชน ซึ่งทั้ง ๒ ส่วน มีความเกี่ยวโยงกันแต่มีหลักพื้นฐานที่แตกต่างกัน
เมื่อพิจารณาสิทธิของผู้ต้องหา คือ
๑. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยผู้ต้องหาเป็นผู้ทรงสิทธิหลักในคดี ซึ่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักการพื้นฐานในเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาไว้
อย่างชัดเจน ตามมาตรา ๓๙ ที่บัญญัติว่า “บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำาการอันกฎหมาย
ที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำาหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะ
หนักกว่าโทษที่กำาหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำาความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐาน
ไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำา
ความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำาความผิดมิได้” และมาตรา ๔๐ บัญญัติว่า “บุคคลย่อม
มีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย
หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้ง
สิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำาเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ตนเอง” ซึ่งในบางครั้งผู้เสียหายก็ไม่ต้องการออกสื่อ โดยจะเห็นได้ว่าสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
40
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน