Page 25 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 25
โดยยังสามารถประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำาหนดว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพ
สื่อมวลชนจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเหมือนกับวิชาชีพอื่นๆ
เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็อาจจะต้องมีคำาแถลง เพื่อนำาเสนอเรื่องที่ถูกต้องและเรื่องที่
ไม่ถูกต้องให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และขอให้มีการติดตามเพื่อจะได้มีความ
ต่อเนื่องในเรื่องข้างต้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า กรณีที่เป็นคดีเกี่ยวกับเด็กซึ่งกฎหมายที่
ให้ความคุ้มครองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชนก็ไม่มีการกระทำาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน และจะทำาอย่างไรที่จะให้สังคมได้รับรู้และสื่อมวลชนจะได้มีความ
ระมัดระวังมากขึ้น เพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๕) การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔
ผู้แทนสภ�ทน�ยคว�ม ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
กฎหมายได้กำาหนดว่า การนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุไม่จำาเป็นที่จะต้องดำาเนินการ
ในทุกคดี โดยมีคำาพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๒๘๓๔/๒๕๕๐ เนื่องจากจำาเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า การสอบสวน
ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ตรี และศาลฎีกาได้มีคำาพิพากษา
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมายว่า ในกรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า มีความจำาเป็นต้องชี้ตัว
จึงต้องดำาเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาใช่บทบัญญัติที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องจัดให้
มีการชี้ตัวทุกคดีไม่ กรณีเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จัดให้มีการชี้ตัวหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ว่า
หากจัดให้มีการชี้ตัวต้องดำาเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งสำานักงานตำารวจแห่งชาติได้มีคำาสั่ง
สำานักงานตำารวจแห่งชาติ ที่ ๘๕๕/๒๕๔๘ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้
สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน และการจัดทำาสื่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งที่ผ่านมาการที่เจ้าหน้าที่
ตำารวจนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวโดยยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำาความผิดหรือไม่
แต่การที่นำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวทำาให้ประชาชนตราหน้าว่าเป็นผู้กระทำาความผิด ซึ่งเท่าที่ผ่านมา
ในหลายๆ ครั้งมีการให้ข่าวว่าเป็นการจับผิดตัว โดยหลังจากที่ทราบว่าเป็นการจับผิดตัวก็ไม่มีการ
มาแถลงข่าวว่าบุคคลที่ถูกจับมานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ทำาให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น ซึ่งในบางกรณี
ที่เจ้าหน้าที่ตำารวจได้ให้สื่อมวลชนเข้ามาทำาข่าวภายในห้องสอบสวน โดยสื่อมวลชนบางรายได้นำาเสนอ
ข่าวตามบันทึกถ้อยคำา ทำาให้เกิดผลเสียและผลกระทบต่างๆ ส่งผลให้มีการฟ้องร้องดำาเนินคดี ซึ่งเห็นว่า
ควรใช้วิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่า
จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่า มีบทความ เรื่อง สิทธิมนุษยชนกับสังคมไทย จาก website
: http://gotoknow.org/blog/knhr/62859 การนำาตัวผู้ต้องหาคดีอาญาออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ได้วางแนวปฏิบัติในการนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
24
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน