Page 27 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 27
การนำาตัวผู้ต้องหาคดีอาญาออกทำาแผนประกอบคำารับสารภาพ
เมื่อผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนจะพาผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพ แล้วจดบันทึกเอาไว้ว่าผู้ต้องหาได้นำาชี้ที่ทางแห่งใด และให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อ
ไว้ในเอกสาร ซึ่งเรียกกันว่า บันทึกการนำาชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ รวมทั้งจัดให้มีการ
ถ่ายภาพการนำาชี้นั้นด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติพนักงานสอบสวนมักให้ผู้ต้องหาแสดงท่าทางประกอบ
การกระทำาผิดในขณะนำาชี้ที่เกิดเหตุ แล้วจดบันทึกไว้ว่า ผู้ต้องหาแสดงท่าทางในการกระทำาอย่างไร
รวมทั้งถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอเทปการแสดงรายละเอียดการกระทำาผิดนั้นด้วย และเรียกการนำาชี้
ที่เกิดเหตุและการแสดงท่าทางขณะกระทำาผิดของผู้ต้องหาว่า การทำาแผนประทุษกรรมประกอบ
คำารับสารภาพ ซึ่งการทำาแผนประทุษกรรมประกอบคำารับสารภาพ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าผู้ต้องหา
ได้ให้การรับสารภาพโดยสมัครใจ
ในการนำาชี้ที่เกิดเหตุแม้ว่าผู้ต้องหาให้การภาคเสธ (ไม่ถือเป็นการรับสารภาพ)
แต่ถ้าเห็นว่า หากให้ผู้ต้องหานำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำาที่รับสารภาพบางส่วนจะสามารถเป็นประโยชน์
ต่อรูปคดี ก็ควรให้ผู้ต้องหานำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพดังกล่าวเช่นเดียวกัน อนึ่ง ในการ
ถ่ายภาพการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพถ้ามีประชาชนมามุงดูควรให้ภาพติดด้วยและ
ผู้ต้องหาควรมีใบหน้ายิ้มแย้มเพื่อเป็นพยานหลักฐานยืนยันว่าผู้ต้องหาได้รับสารภาพด้วยความเต็มใจ
ส่วนการติดตามสื่อมวลชนไปทำาข่าว สำานักงานตำารวจแห่งชาติได้เคยมีหนังสือเวียน
กำาชับมิให้พนักงานสอบสวนจัดให้สื่อมวลชนไปทำาข่าว รวมทั้งกำาชับมิให้แจ้งกำาหนดวันเวลาที่จะนำา
ผู้ต้องหาไปชี้ที่เกิดเหตุให้สาธารณชนทราบ และหากเป็นการสมควรอาจจะใช้วัสดุปกปิดใบหน้าของ
ผู้ต้องหาขณะนำาชี้ที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ เพื่อมิให้การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพเป็นการประจาน
ผู้ต้องหาให้เป็นที่เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียง
จะเห็นได้ว่า ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดีให้อำานาจพนักงานสอบสวน
นำาตัวผู้ต้องหาไปชี้ที่เกิดเหตุได้กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ และให้เป็นดุลยพินิจที่จะซักถามหรือ
ให้ผู้ต้องหาอธิบายวิธีและอาการแห่งการกระทำาความผิด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าพนักงานสอบสวน
มีอำานาจที่จะนำาตัวผู้ต้องหาไปแสดงท่าทางกระทำาผิดต่อหน้าสาธารณชน เพราะหากพิจารณาให้ดีจะพบ
ว่าประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๐ ข้อ ๑ (ค) กำาหนดห้ามมิให้เปิดเผยเหตุการณ์
หรือเรื่องราว ซึ่งถ้าหากเปิดเผยต่อประชาชนอาจเป็นแบบที่บุคคลอื่นจะถือเอาเป็นตัวอย่างในการกระทำา
ขึ้นอีก เช่น แผนประทุษกรรมต่างๆ ของคนร้ายหรือวิธีการอันชั่วร้ายอื่นๆ เป็นต้น
ผู้แทนองค์กรพัฒน�เอกชน (NGOs) ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
ในต่างประเทศจะไม่มีการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพหรือ
แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยใช้ระบบกล่าวหา และมีการใช้คำาพิพากษา
ฎีกาเป็นแนวทางในการพิจารณาคดี จึงอาจทำาให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ โดยรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐาน
26
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน