Page 29 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 29
จำาเลย การที่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมต้องรวบรวมพยานหลักฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยได้
กระทำาความผิดอย่างไร โดยผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธทั้งในชั้นสอบสวน
และในชั้นศาล ดังนั้น การรับสารภาพเป็นเพียงการให้การเบื้องต้นที่จะนำาไปสู่การรวบรวมพยาน
หลักฐานอื่นเพื่อประกอบในการพิจารณาลงโทษ เจ้าหน้าที่ตำารวจจะต้องมีวิธีการหรือกระบวนการ
โดยสมบูรณ์ที่จะรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ โดยต้องเคารพสิทธิของผู้ต้องหา หากพิจารณาจาก
กระบวนการพิจารณาของศาลประกอบกับสิทธิของผู้ต้องหา การนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้
ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพเป็นการกระทำาที่เกินกว่าความจำาเป็นที่พึงต้องกระทำา ซึ่งสิ่งที่เจ้าหน้าที่
ตำารวจพึงกระทำา คือ การรวบรวมพยานหลักฐานในคดีให้ชัดเจน โดยรัฐต้องกำาหนดมาตรการอื่นเพื่อ
ให้ประชาชนเกิดความเกรงกลัวและไม่กระทำาความผิด และไม่จำาเป็นที่จะต้องแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
โดยไม่ควรนำาชื่อเสียงของปัจเจกบุคคลที่ถูกกล่าวหามาเป็นเครื่องมือในการป้องปรามการกระทำา
ความผิด เนื่องจากจะก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้ต้องหาอย่างยิ่ง ซึ่งทิศทางในการดำาเนินการของเจ้าหน้าที่
ตำารวจจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้รัดกุมและชัดเจน และต้องมิให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิในชีวิต
และร่างกาย รวมทั้งชื่อเสียงของผู้ต้องหาด้วย โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้พยานหลักฐาน พฤติการณ์
หรือพฤติเหตุ และพยานหลักฐานแวดล้อมอื่น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถนำามาใช้ได้
ซึ่งไม่จำาเป็นที่จะต้องนำาตัวผู้ต้องหาไปในที่เกิดเหตุ และในบางคดีที่เจ้าหน้าที่ตำารวจมีไม่เพียงพอใน
การดูแลความปลอดภัย อาจทำาให้เกิดการรุมประชาทัณฑ์และส่งผลกระทบต่อชีวิตและร่างกายของ
ผู้ต้องหาได้
ประเด็นที่ ๒ ผลกระทบจากการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ในมิติสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม
ในกระบวนการพิจารณาคดี ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Common Law
คณะลูกขุนจะเป็นผู้พิจารณาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาจะพิจารณาประเด็นข้อกฎหมาย หากคณะลูกขุน
ได้รับทราบข้อเท็จจริงจากสื่อมวลชน ถ้าสื่อมวลชนมีความโน้มเอียง อาจทำาให้เชื่อว่าบุคคลนั้นได้กระทำา
ความผิดจริง และจะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาของคณะลูกขุนได้ ดังนั้น บางประเทศที่ใช้ระบบ
ลูกขุนได้มีการกำาหนดข้อห้ามเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว
ส่วนประเทศไทย ไม่ได้แยกการพิจารณาในเรื่องของข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย โดย
ผู้พิพากษาเป็นองค์คณะในการพิจารณา หากผู้พิพากษา อัยการ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ
ยุติธรรม เมื่อได้รับทราบข้อเท็จจริงต่างๆ จากสื่อมวลชน อาจเกิดความโน้มเอียงในความเชื่อครั้งแรก
ที่ปรากฏ ดังนั้น การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอาจส่งผลกระทบต่อการพิจารณาขององค์คณะผู้พิจารณา
สิ่งสำาคัญที่ต้องพิจารณา คือ ในฐานะที่ผู้ต้องหาหรือจำาเลยซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ การที่
ผู้ต้องหาปรากฏต่อสาธารณะว่า บุคคลนั้นเป็นผู้กระทำาความผิดเสมือนถูกพิพากษาหรือถูกลงโทษแล้ว
หากภายหลังศาลได้พิพากษาตัดสินว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำาผิด เมื่อบุคคลนั้นได้รับความเสียหาย
หรือเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการนำาเสนอข่าวแล้ว หน่วยงานใดจะเป็นผู้แก้ไขเยียวยาต่อความเสื่อมเสีย
หรือความเสียหายที่เกิดขึ้น และสื่อมวลชนได้มีการเสนอข่าวเพื่อเป็นการเยียวยาผู้เสียหายหลังจากที่
28
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน