Page 22 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 22

ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภ�พ  ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุ
                    ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้

                                  จากประสบการณ์การปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำารวจ และจากการที่ได้พูดคุยกับ

                    ข้าราชการตำารวจชั้นผู้ใหญ่สังกัดสำานักงานตำารวจแห่งชาติ  ซึ่งได้ให้แนวคิดว่า  การนำาตัวผู้ต้องหาไป
                    นำาชี้ที่เกิดเหตุนั้นเจ้าหน้าที่ตำารวจมีแนวทางในการปฏิบัติและระเบียบที่ชัดเจน  แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่

                    ตำารวจหรือพนักงานสอบสวนไม่ยึดถือปฏิบัติเท่าที่ควร  จึงเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์พอสมควร
                    ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง บัญญัติว่า

                    “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด”  การที่นำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้
                    ที่เกิดเหตุและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน  จึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา เนื่องจากศาลยังมิได้

                    มีคำาพิพากษา ทั้งนี้ ระเบียบของสำานักงานตำารวจแห่งชาติไม่มีการบังคับว่าจะต้องนำาตัวผู้ต้องหาไป
                    นำาชี้ที่เกิดเหตุ หรือต้องแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งการใช้ภาพถ่าย หรือการใช้แผนที่จำาลองชี้สถานที่

                    เกิดเหตุน่าจะเป็นแนวทางหรือวิธีการที่ทดแทนได้  โดยทุกครั้งที่มีการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ
                    ญาติพี่น้องของผู้เสียหายมักจะเข้ามาทำาร้ายร่างกายหรือรุมประชาทัณฑ์ผู้ต้องหา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว

                    ไม่ควรที่จะเกิดขึ้น

                                  การนำาตัวผู้ต้องหาไปแถลงข่าวนั้น  เจ้าหน้าที่ตำารวจได้มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่ง
                    กรมตำารวจได้มีบันทึกข้อความ ที่ ๐๕๐๓.๖/๑๖๔๔๒ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๙ เรื่อง กำาชับและ

                    ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการชี้ตัวผู้ต้องหา  การนำาผู้ต้องหาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ
                    และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน  โดยให้ข้าราชการตำารวจหน่วยต่างๆ ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ซึ่งการ

                    แถลงข่าวเจ้าหน้าที่ตำารวจหรือพนักงานสอบสวนสามารถแถลงข่าวได้  แต่ไม่ควรนำาตัวผู้ต้องหามา
                    ร่วมแถลงข่าวด้วย  โดยต้องระมัดระวังในเรื่องการตอบโต้ซักถามผ่านสื่อมวลชน ซึ่งอาจทำาให้มีผลต่อ

                    สำานวนคดี  ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของผู้ต้องหาและผู้ถูกกล่าวหายังไม่มีการออกกฎหมาย
                    มารองรับที่ชัดเจน เนื่องจากหลายฝ่ายเห็นว่า กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับสิทธิตามกฎหมายอื่นอยู่แล้ว

                    ปัจจุบันกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้จ้างอาจารย์ประจำาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                    เพื่อทำาการศึกษามาตรา ๔๐ (๕) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่บัญญัติ

                    ว่า “ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือ
                    เท่าที่จำาเป็นและเหมาะสมจากรัฐ  ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำาเป็น ให้เป็นไป

                    ตามที่กฎหมายบัญญัติ”  โดยเฉพาะผู้ต้องหาและจำาเลยมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย
                    ในระดับใด  เนื่องจากยังมีประเด็นเป็นที่ถกเถียงกันว่า  รัฐมีความจำาเป็นที่จะต้องปกป้องคุ้มครอง

                    ผู้ต้องหาที่เป็นผู้ที่กระทำาความผิดหรือไม่

                                  การนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวนั้น  อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ให้ความ
                    สำาคัญในเรื่องนี้  และไม่เห็นด้วยที่จะมีการนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าว ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                    และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์






                                                                                                         21

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27