Page 21 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 21

การนำาชี้ที่เกิดเหตุซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำารับสารภาพในชั้นจับกุม ย่อมเข้ากับหลักทั่วไป
                 คือ รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้  แต่อาจมีข้อถกเถียงว่า คำารับสารภาพที่ได้มานั้นอาจได้มาใน

                 ชั้นสอบสวนก็ได้  ซึ่งหากเป็นคำารับสารภาพในชั้นสอบสวน  ก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
                 ดังนั้น ในชั้นจับกุมจึงไม่ควรมีการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ เพราะกฎหมายวางหลักไว้ว่า

                 คำารับสารภาพในชั้นจับกุมไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้  ส่วนในชั้นสอบสวนไม่มีกฎหมาย
                 ห้ามมิให้มีการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ  และในการพิจารณาพิพากษาโดยส่วนใหญ่

                 การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพในชั้นสอบสวนจะนำามาใช้เป็นพยานหลักฐานในการลงโทษ
                 ผู้กระทำาผิด ซึ่งยังมีความจำาเป็นอยู่ จึงไม่ต้องหาแนวทางหรือวิธีการอื่นมาทดแทน

                               การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เป็นการนำาผู้ต้องหามาให้การรับสารภาพกับสื่อมวลชน
                 ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อการให้การในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด  โดยอาจทำาให้เสียรูปคดีได้ เนื่องจากอาจ

                 เป็นการให้คำามั่นสัญญาหรืออาจมีการข่มขู่

                               ประเด็นที่ ๒  ความจำาเป็นและประโยชน์ในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้
                 ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยในบางครั้งอาจไม่มีความจำาเป็น

                 เนื่องจากในชั้นจับกุมคำาให้การของผู้ต้องหาที่ให้การรับสารภาพไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
                 ซึ่งการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุก็อาจทำาให้เกิดภาระกับเจ้าพนักงานตำารวจ และเป็นการสิ้นเปลือง

                 งบประมาณ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำารวจจะต้องจัดกำาลังเจ้าหน้าที่เพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้ผู้ต้องหา
                 ถูกทำาร้ายจากประชาชน

                               ประเด็นที่ ๓  ความเห็นและแนวทางในการหาวิธีการทดแทนการนำาชี้ที่เกิดเหตุ

                 ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน  พนักงานสอบสวนมีความสามารถในการ
                 สืบสวนสอบสวนอยู่แล้ว  ดังนั้น การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนจึงไม่มีความจำาเป็น  เนื่องจากตาม

                 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗  บัญญัติว่า  “ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่ง
                 น้ำาหนักพยานหลักฐานทั้งปวง  อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำาความผิดจริงและ

                 จำาเลยเป็นผู้กระทำาความผิดนั้น  เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำาเลยได้กระทำาผิดหรือไม่  ให้ยก
                 ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำาเลย”

                               การนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวซึ่งเป็นการตีตราว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำาผิด โดยที่

                 ศาลยังมิได้พิจารณาคดี ซึ่งในต่างประเทศการนำาเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชน ผู้ปกครอง รัฐ หรือผู้บังคับ
                 บัญชาสูงสุดจะเป็นผู้แถลงข่าว  โดยจะต้องระมัดระวังในเรื่องของรูปคดีและต้องมีความรับผิดชอบต่อ
                 สังคม

                               สำาหรับเรื่องการนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวนั้น เท่าที่ทราบมีผู้ใหญ่หลายท่านให้

                 ความห่วงใยในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการกระทบในเรื่องสิทธิมนุษยชน  แต่การนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้
                 ที่เกิดเหตุเป็นกระบวนการของฝ่ายบริหาร ซึ่งฝ่ายตุลาการไม่อาจก้าวล่วงได้








            20

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26