Page 26 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 26

หรือแพร่ภาพไว้ ดังนี้

                                  -  ลักษณะที่ ๓๐ ข้อ ๑ (ค) ห้ามมิให้ผู้มีหน้าที่ในการให้สัมภาษณ์หรือแถลงข่าวให้ข่าว
                    ดังต่อไปนี้

                                     ข้อ ๔  คดีที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนยังไม่เสร็จ เช่น แนวการสืบสวน
                    สอบสวน การจับกุม ตรวจค้น และการรวบรวมพยานหลักฐาน  เป็นต้น

                                     ข้อ ๕  เหตุการณ์หรือเรื่องราวซึ่งถ้าหากเปิดเผยต่อประชาชนอาจเป็นแบบที่

                    บุคคลอื่นจะถือเอาเป็นตัวอย่างในการกระทำาขึ้นอีก เช่น แผนประทุษกรรมต่างๆ ของคนร้าย หรือวิธีการ
                    ที่แสดงถึงการฉ้อโกง การกระทำาอัตวินิบาตกรรม และวิธีการอันชั่วร้ายอื่นๆ

                                  -  ลักษณะที่ ๓๐ ข้อ ๕ กำาหนดเรื่องการนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ดังนี้

                                     ๑.  ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไม่ว่ากรณีใด ให้ผู้มีอำานาจแถลงข่าวถือปฏิบัติ
                    ตามประมวลระเบียบการตำารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๒๙ บทที่ ๑ ข้อ ๑ (๒)
                                     ๒.  ไม่ควรนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวหรือแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน โดยเฉพาะ

                    ผู้ต้องหาที่ให้การปฏิเสธ เว้นแต่กรณีผู้ต้องหาให้การปฏิเสธแต่คดีมีพยานหลักฐานของกลางน่าเชื่อถือว่า

                    ผู้ต้องหากระทำาผิดจริง เช่น คดียาเสพติด  ส่วนกรณีผู้ต้องหาให้การรับสารภาพอาจจะนำามาแถลงข่าว
                    ได้หากเกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนหรือต่อทางราชการ  ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำานาจแถลงข่าว
                    และจะต้องถือปฏิบัติตามประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๐ ข้อ ๑ (ค) โดยเคร่งครัด

                                     ๓.  ห้ามมิให้ทำาป้ายชื่อแขวนคอผู้ต้องหาแล้วนำาออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

                    หรือแพร่ภาพ  นอกจากเป็นการกระทำาตามอำานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หรือกองทะเบียน
                    ประวัติอาชญากรเพื่อถ่ายรูปเก็บรวบรวมในสมุดภาพแฟ้มประวัติคนร้ายเท่านั้น
                                     เมื่อการแถลงข่าวถือเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำารวจ จึงมักปรากฏว่ามีการนำา

                    ตัวผู้ต้องหาออกมาแถลงข่าวอยู่เป็นประจำา  ทั้งๆ ที่สำานักงานตำารวจแห่งชาติได้มีหนังสือเวียนภายใน

                    หน่วยงานกำาชับมิให้การแถลงข่าวกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องหา กระทบต่อการทำางานและ
                    ชื่อเสียงของสำานักงานตำารวจแห่งชาติ  แต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เหตุผลว่ามีความจำาเป็นต้องทำาเพื่อ
                    ประโยชน์สาธารณะ เช่น ผู้เสียหายอื่นๆ จะได้ทราบว่าผู้ต้องหาถูกจับแล้วและจะได้ดำาเนินการต่อไป

                    เพื่อให้ประชาชนทราบข่าวอาชญากรรม เป็นสิทธิของประชาชนที่จะรับรู้ข่าวสาร และเป็นการปราม

                    ผู้ที่คิดจะกระทำาผิด เป็นการแพร่ภาพบุคคลและวิธีการกระทำาผิดเพื่อมิให้ประชาชนทั่วไปตกเป็นเหยื่อ
                    หรือเพื่อการแจ้งเบาะแสกับเจ้าหน้าที่ตำารวจ หรือในคดียาบ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพและต้องการ
                    แถลงข่าวต่อสาธารณชนเพื่อให้รับรู้ว่าการกระทำาของตนนั้นเป็นการทำาลายประเทศชาติและเยาวชน

                                     ส่วนการทำาป้ายชื่อแขวนคอผู้ต้องหา ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดีได้

                    ห้ามไว้อย่างชัดเจน  แต่ปรากฏว่ายังมีการปฏิบัติอยู่  โดยเปลี่ยนจากทำาป้ายชื่อแขวนคอเป็นให้ผู้ต้องหา
                    ยืนถือป้ายชื่อหรือวางไว้ด้านหน้าผู้ต้องหา ที่เป็นเช่นนี้เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเห็นว่าเป็นการเปิด
                    โอกาสให้ประชาชนรับทราบการกระทำาผิดและจะได้ระมัดระวัง เป็นการลงโทษผู้ต้องหาทางอ้อมและ

                    เพื่อให้ผู้ต้องหาละอายใจ



                                                                                                         25

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31