Page 20 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 20
การจัดทำาแผนประทุษกรรมเป็นเรื่องของการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำารวจ
ได้มีโอกาสศึกษากลวิธีหรือเป็นแบบอย่างในการกระทำาความผิดต่างๆ ของผู้กระทำาผิด และเป็น
แนวทางในการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำาผิด อีกทั้งอาจทำาให้ผู้ที่จะกระทำาผิดได้เห็นภาพ
ของผู้ที่ถูกจับกุมและทำาให้เกิดความเกรงกลัวขึ้นได้
ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้มีการกำาหนดเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานต่างๆ มากขึ้น
ดังนั้น การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพอาจจะไม่มีน้ำาหนักมากนัก เพราะศาลอาจต้องรับฟัง
พยานหลักฐานในด้านอื่นประกอบด้วย
สำาหรับการนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าว เห็นว่า ควรจะนำาเสนอเฉพาะความคืบหน้า
ของคดี โดยไม่จำาเป็นที่จะต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับพยานหลักฐาน หรือนำาตัวผู้ต้องหามาร่วม
แถลงข่าวด้วย เพราะอย่างน้อยสังคมจะได้รับรู้ว่า หน่วยงานของรัฐยังให้ความสนใจ ไม่ได้เพิกเฉย
โดยไม่เห็นด้วยกับการที่นำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าว เพราะเป็นการนำาตัวผู้ต้องหามาประจาน อีกทั้ง
ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ต้องหาและบุคคลรอบข้างด้วย
๓) การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔
ผู้แทนสำ�นักง�นศ�ลยุติธรรม ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ ศาลให้น้ำาหนักในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับการนำาตัวผู้ต้องหา
ในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อลงโทษจำาเลย
เพียงใด ซึ่งต้องพิจารณาว่า การนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เกิดขึ้นใน
ขั้นตอนใด ถ้าเป็นขั้นตอนในชั้นจับกุม โดยต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๘๔ วรรคท้าย บัญญัติว่า “ถ้อยคำาใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำารวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำานั้นเป็นคำารับสารภาพของ
ผู้ถูกจับว่า ตนได้กระทำาความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำาอื่น จะรับฟังเป็น
พยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตาม
มาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี” ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือ
๑. คำาให้การรับสารภาพของจำาเลยในชั้นจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ลงโทษจำาเลยไม่ได้ เนื่องจากจำาเลยมีสิทธิที่จะให้การที่ไม่เป็นปรปักษ์ต่อตนเอง และ
๒. ถ้อยคำาอื่น (นอกจากคำาให้การรับสารภาพ) หากผู้ต้องหาได้รับการแจ้ง
สิทธิแล้ว และผู้ต้องหารับสารภาพว่าได้กระทำาความผิดจริง โดยถ้อยคำาอื่นหลังจากที่ได้มีการแจ้ง
สิทธิแล้วก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
19
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน