Page 24 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 24

ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด  หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่
                    หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ”  ซึ่งการกระทำาดังกล่าว

                    เป็นการกระทำาที่ทำาให้เกิดความเสื่อมเสียกับผู้ต้องหาหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีการพิสูจน์ว่าบุคคลนั้นเป็น
                    ผู้กระทำาความผิด

                                  ประเด็นที่ ๓  ความเห็นและแนวทางในการหาวิธีการทดแทนการนำาชี้ที่เกิดเหตุ

                    ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ตำารวจหรือเจ้าหน้าที่กรมสอบสวน
                    คดีพิเศษ (DSI) สามารถแถลงผลงานโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ของการกระทำาความผิด

                    ซึ่งไม่จำาเป็นที่จะต้องระบุ ชื่อ–สกุล หรือภูมิหลังของผู้ต้องหา เพื่อมิให้เกิดผลกระทบในสิทธิความเป็น
                    ส่วนตัวของผู้ต้องหา หากกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบบางรายที่กระทำาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                    สื่อมวลชนก็จะไม่ให้ความร่วมมือและไม่ไปทำาข่าว

                                  ในส่วนของข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์
                    แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการกำาหนดจริยธรรมนี้ขึ้น โดยพิจารณาจากแนวปฏิบัติของสื่อมวลชนใน

                    ต่างประเทศเท่าที่สอดคล้องกับการปฏิบัติในประเทศไทย  การปฏิบัติของสื่อมวลชนในอดีตที่ผ่านมา
                    และเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์

                    แห่งชาติมีหน้าที่ในการดูแลและกวดขันสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ปฏิบัติเป็น
                    ไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ฯ  โดยในส่วนของวิทยุและโทรทัศน์ได้มี

                    การจัดตั้งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  และมีการกำาหนดข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและ
                    โทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พ.ศ. ๒๕๕๓  เพื่อเป็นการดูแล

                    สื่อมวลชนให้ปฏิบัติถูกต้องตามจริยธรรมหลักแห่งวิชาชีพและเป็นการป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิ
                    ของบุคคลอื่น

                                  โดยข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

                    พ.ศ. ๒๕๔๑  และข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุ
                    และโทรทัศน์ไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้เคยมีผู้เสนอว่าควรที่จะบัญญัติเป็นกฎหมาย แต่สื่อมวลชนในด้าน
                    วิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เห็นว่า หากกำาหนดเป็นกฎหมายจะเป็นการใช้อำานาจรัฐซึ่ง

                    เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  และอาจทำาให้สื่อมวลชนเสียเสรีภาพในการประกอบ

                    วิชาชีพ โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งสภา
                    การหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยความ
                    ตกลงของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งหากสื่อมวลชนได้กระทำาการที่ขัดต่อข้อบังคับฯ โดยความ

                    ปรากฏขึ้นแก่คณะกรรมการหรือประชาชนได้มีการร้องเรียน โดยหน่วยงานต้นสังกัดของสื่อมวลชนที่

                    กระทำาความผิดจะต้องดำาเนินการสอบสวน และมีบทลงโทษตามความเหมาะสม  จากนั้นจะมีการแจ้ง
                    ต่อสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อทราบ  สภาการ
                    หนังสือพิมพ์แห่งชาติได้มีการจัดตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบัน  โดยมีผู้ยินยอมรับการลงโทษ

                    ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ซึ่งมีบางรายก็ไม่ยอมรับการลงโทษ และมีบางรายที่ไม่ปฏิบัติตามและได้ลาออก



                                                                                                         23

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29