Page 28 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 28

ไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด”  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                    ทางการเมือง ข้อ ๑๔ (๒) ระบุว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำาผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการ

                    สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายว่าได้มีความผิด”  ดังนั้น ผู้ต้องหาจึงมีสิทธิ
                    ที่จะได้รับการปฏิบัติเหมือนบุคคลทั่วไป  รวมถึงสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการพบทนายความ สิทธิในการ

                    ได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น
                                  ในการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำารวจ การนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ

                    ประกอบคำารับสารภาพ เป็นการยืนยันว่าผู้ต้องหาได้กระทำาความผิดจริง แต่ในกรณีที่ผู้ต้องหาจำานน
                    ต่อหลักฐานก็ไม่มีความจำาเป็นที่จะต้องนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ  ทั้งนี้

                    ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และเป็นหลักฐานที่ได้รับการพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์แล้ว ซึ่งพนักงาน
                    สอบสวนควรที่จะมีความรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง

                                  ส่วนการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
                    ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕ บัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่

                    ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง  การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใด
                    ไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง

                    หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ”  เมื่อมีการนำาตัว
                    ผู้ต้องหามาแถลงข่าว สังคมรับรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำาความผิด แต่ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง

                    ชื่อเสียงเกียรติยศของบุคคลนั้นที่สูญเสียไปในขณะที่ได้มีการแถลงข่าวไปแล้วนั้น ไม่มีผู้ใดมาชดเชย
                    ค่าเสียหายให้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้เสียหายต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเอง  ดังนั้น ในการแถลงข่าวควร

                    มีเฉพาะผู้แถลงข่าวกับของกลาง โดยไม่ต้องนำาตัวผู้ต้องหามาร่วมแถลงข่าว และต้องไม่นำาตัวไปให้
                    สาธารณชนหรือสื่อมวลชนได้รับทราบ รวมทั้งในบางกรณีควรที่จะงดเว้นการนำาเสนอข่าวด้วย


                              ๖)  การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ

                    การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔

                                  ผู้แทนนักวิช�ก�ร ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ

                    คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
                                  ประเด็นที่ ๑ เหตุผลและความจำาเป็นในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ

                    ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

                                  ในการพิจารณาสิทธิของผู้ต้องหาในกระบวนการยุติธรรม  ผู้ต้องหาซึ่งเป็นผู้ทรง
                    สิทธิหลัก ประกอบกับเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอต่อ

                    การพิจารณาคดี และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙
                    วรรคสอง และวรรคสาม  บัญญัติว่า  “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มี

                    ความผิด ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น
                    เสมือนผู้กระทำาความผิดมิได้”  ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นหลักสำาคัญในการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือ




                                                                                                         27

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33